ป่าชายเลนเดินได้แห่งดินแดนตะวันออก

รายละเอียด

  

ปรากฏการณ์ป่าชายเลนเดินได้เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่มีเกิดจากการที่รากประเภทต่าง ๆ ของต้นไม้ในป่าชายเลนที่โผล่พ้นน้ำและพื้นดินขึ้นมาทำให้เกิดการกีดขวางหรือเป็นอุปสรรคที่ทำให้น้ำที่ไหลจากลำคลองหรือแม่น้ำลดความเร็วลงจนกระทั้งตะกอนดินและอินทรียสารต่าง ๆ ที่ถูกพัดพามากับน้ำจมตัวลงสู่พื้น และเกิดการสะสมตัวหนาขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อเวลาผ่านไป

ต้นไม้ที่มีทำให้เกิดการสะสมเพิ่มขึ้นของพื้นดินในป่าชายเลนมากที่สุด คือ ต้นไม้กลุ่มที่เราเรียกว่า “ไม้เบิกนํา” ซึ่งไม้เบิกนำนั้นคือกลุ่มของต้นไม้ที่ชอบขึ้นอยู่ในบริเวณริมน้ำ ได้แก่ ต้นไม้ในวงศ์ต้นแสมและวงศ์ต้นลำพู โดยเป็นพืชพวกแรกที่ช่วยดักจับตะกอนดินและอินทรียสารต่าง ๆ จนสะสมและเกิดการพอกพูนดินเลนให้งอกเงยไปจากชายฝั่ง เมื่อเวลาผ่านไปจนกระทั้งพื้นดินเหล่นั้นมีดินเลนหนาขึ้นแล้ว ต้นไม้ในวงศ์โกงกางซึ่งที่มีลำต้นและระบบรากค้ำจุนที่แข็งแรงกว่าจะเจริญเติบโตขึ้นมาแทนที่โดยแผ่เรือนยอดและรากค้ำจุนปกคลุมจนกระทั่งต้นแสมและลำพูทะเลส่วนใหญ่ค่อยๆ หายหน้าหายตาไปจนกลายเป็นป่าโกงกางในที่สุด และความซับซ้อนของระบบรากต้นไม้ในวงศ์โกงกางเองก็จะทำให้เกิดการตกสะสมของตะกอนเลนในลักษณะเดียวกันไปเรื่อย ๆ เช่นเดียวกัน 











“ป่าชายเลนบ้านท่าระแนะ เป็นป่าชายเลนเดินได้” เป็นอีกหนึ่งประโยคที่ท่านจะต้องได้ยินเมื่อมีโอกาสมาเที่ยวที่บ้านท่าระแนะแห่งนี้ ซึ่งเป็นการบอกเล่าของสมาชิกชุมชนที่กล่าวถึงการเพิ่มขึ้นของพื้นดินหรือพื้นที่ในป่าชายเลนแห่งนี้อย่างช้า ๆ จนดูเสมือนว่าป่าชายเลนแห่งนี้มีการเคลื่อนที่ได้ ซึ่งหากท่านมายังท่าระแนะก็จะได้เห็นป่าชายเลนเดินได้แห่งนี้เป็นป่าชายเลนที่สำคัญของประเทศไทย











ขนาด

การงอกของแผ่นดินในป่าชายเลน เกิดจากการสะสมของอนุภาคดินตะกอนที่ไหลมากับกระแสน้ำแล้วถูกทำให้ไหลช้าลงโดยการปะทะกับระบบรากไม้ในป่าชายเลน