กันตรึม การละเล่นพื้นบ้าน

รายละเอียด

กันตรึม การละเล่นพื้นเมืองของชาวไทยเชื้อสายเขมรในเขตอีสานใต้ กิจกรรมชุมชนที่พบในบริเวณที่ใช้ภาษาเขมรเป็นภาษาถิ่น เช่น จังหวัดสุรินทร์ บุรีรัมย์ และศรีสะเกษ เดิมใช้การขับร้องประกอบกับการร่ายรำบวงสรวง รำคู่ และรำหมู่ ต่อมามีการพัฒนาประยุกต์การละเล่นไปมีความคล้ายกับการเล่นปฏิพากย์ของภาคกลาง มีกลองที่เรียกว่า “กลองกันตรึม” เป็นหลัก เมื่อตีจะออกเป็นเสียง กันตรึม โจ๊ะ ตรึม ตรึม การละเล่นจะเริ่มด้วยบทไหว้ครู เพื่อระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า พระวิศวกรรม ครูบาอาจารย์ และเริ่มทักทายกัน

เชื่อว่าการแสดงนี้ได้รับการสืบทอดมาจากขอม เดิมจะใชขับร้องประกอบการแสดงบวงสรวงเวลามีการทรงเจ้าเข้าผี แต่ปัจจุบันกันตรึมมีการแสดงเพื่อความบันเทิงทั่วไป เล่นได้ทุกโอกาส ลักษณะทั่วไปของเพลงกันตรึม คือ เนื้อร้องเป็นภาษาเขมร จำนวนแต่ละวรรคไม่เท่ากัน บทเพลงหนึ่งมี 4 วรรค แต่ละบทไม่จำกัดความยาว มักคิดคำกลอนให้เหมาะกับงานที่เล่นหรือใช้บทร้องเก่า ๆ ที่จำกันมา ทำนองเพลงมีหลายจังหวะประมาณ 228 ทำนองเพลง คุณค่าของบทเพลงกันตรึมอยู่ที่เนื้อร้องส่วนใหญ่แสดงถึงวิถีการดำเนินชีวิตในสังคมชนบท กล่าวถึงการทำนา ภารกิจ งานบ้านซึ่งเป็นหน้าที่ของภรรยา การหารายได้เลี้ยงครอบครัวเป็นหน้าที่ของสามี และแสดงค่านิยมในสังคม อาทิ การเลือกคู่ครอง เป็นต้น(คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ, 2544 : หน้า 130 และ 145-148)กันตรึม การละเล่นพื้นเมืองของชาวไทยเชื้อสายเขมรในเขตอีสานใต้ กิจกรรมชุมชนที่พบในบริเวณที่ใช้ภาษาเขมรเป็นภาษาถิ่น เช่น จังหวัดสุรินทร์ บุรีรัมย์ และศรีสะเกษ เดิมใช้การขับร้องประกอบกับการร่ายรำบวงสรวง รำคู่ และรำหมู่ ต่อมามีการพัฒนาประยุกต์การละเล่นไปมีความคล้ายกับการเล่นปฏิพากย์ของภาคกลาง มีกลองที่เรียกว่า “กลองกันตรึม” เป็นหลัก เมื่อตีจะออกเป็นเสียง กันตรึม โจ๊ะ ตรึม ตรึม การละเล่นจะเริ่มด้วยบทไหว้ครู เพื่อระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า พระวิศวกรรม ครูบาอาจารย์ และเริ่มทักทายกัน

เชื่อว่าการแสดงนี้ได้รับการสืบทอดมาจากขอม เดิมจะใชขับร้องประกอบการแสดงบวงสรวงเวลามีการทรงเจ้าเข้าผี แต่ปัจจุบันกันตรึมมีการแสดงเพื่อความบันเทิงทั่วไป เล่นได้ทุกโอกาส ลักษณะทั่วไปของเพลงกันตรึม คือ เนื้อร้องเป็นภาษาเขมร จำนวนแต่ละวรรคไม่เท่ากัน บทเพลงหนึ่งมี 4 วรรค แต่ละบทไม่จำกัดความยาว มักคิดคำกลอนให้เหมาะกับงานที่เล่นหรือใช้บทร้องเก่า ๆ ที่จำกันมา ทำนองเพลงมีหลายจังหวะประมาณ 228 ทำนองเพลง คุณค่าของบทเพลงกันตรึมอยู่ที่เนื้อร้องส่วนใหญ่แสดงถึงวิถีการดำเนินชีวิตในสังคมชนบท กล่าวถึงการทำนา ภารกิจ งานบ้านซึ่งเป็นหน้าที่ของภรรยา การหารายได้เลี้ยงครอบครัวเป็นหน้าที่ของสามี และแสดงค่านิยมในสังคม อาทิ การเลือกคู่ครอง เป็นต้น(คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ, 2544 : หน้า 130 และ 145-148)