กระดิ่งโบราณ


กระดิ่งโบราณ ขนาดสูง 6.0 ซม. กว้าง 3.5 ซม. เป็นกระดิ่งโบราณ ไม่ทราบอายุที่แน่ชัด มีลักษณะเป็นรูปครึ่งวงรี ทำจากเหล็ก ด้านบนมีการเจาะรูเพื่อใส่เชือกมัดติดกับเหล็กเล็ก ๆ ด้านในกระดิ่งที่ทำให้เกิดเสียง และมีการทำเป็นรูขนาดใหญ่ด้านบนกระดิ่งเพื่อใช้ในการห้อยติดกับวัตถุอื่น ได้มาจากวิหารวัดมงคลทุ่งแป้ง ซึ่งในอดีตห้อยติดกับช่อฟ้าของวิหารวัดมงคลทุ่งแป้ง ซึ่งเป็นวัดที่สันนิษฐานว่ามีอายุมากกว่า 500 ปีขึ้นไป ภายหลังเมื่อมีการบูรณปฏิสังขรณ์ตามสภาพกาลเวลา เจ้าอาวาสรุ่นก่อนจึงได้มีการเก็บรักษาชิ้นส่วนเดิมเอาไว้ ต่อมาพระดอนศักดิ์ กตปุญโญ (เจ้าอาวาสวัดมงคลทุ่งแป้งองค์ปัจจุบัน) จึงได้นำมาจัดแสดง ปัจจุบันกระดิ่งโบราณจัดเก็บไว้ที่ ตู้หมายเลข 3 วิหารวัดมงคลทุ่งแป้ง


ปากแล


ปากแล เป็นส่วนที่อยู่ด้านหน้าของแผงแล ซึ่งเป็นแผ่นไม้อยู่ระหว่างแปรับกลอนหลังคากับคอสองรับปีกนกด้านข้าง ที่เรียกว่าปากแลเพราะมักทำเป็นรูปปากนกแก้ว ปากแลชิ้นนี้ ทำจากไม้ ทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ตรงปลายทั้งสองด้านมีแกนหลักไว้สำหรับยึดติดโครงสร้างแปรลงมา มีการสลักเป็นร่องสองขีด ตรงกลางมีการแกะสลักเหมือนเขี้ยวทั้งข้างบนและข้างล่างรวมสองสี่ซี่เหมือนปากสิงห์ ขนาดยาว 49.5 ซม. กว้าง 12.3 ซม. ในอดีตเป็นปากแลของวิหารวัดมงคลทุ่งแป้ง ซึ่งเป็นวัดที่สันนิษฐานว่ามีอายุมากกว่า 500 ปีขึ้นไป ภายหลังเมื่อมีการบูรณปฏิสังขรณ์ตามสภาพกาลเวลา เจ้าอาวาสรุ่นก่อนจึงได้มีการเก็บรักษาชิ้นส่วนเดิมเอาไว้ ต่อมาพระดอนศักดิ์ กตปุญโญ (เจ้าอาวาสวัดมงคลทุ่งแป้งองค์ปัจจุบัน) จึงได้นำมาจัดแสดง ปัจจุบันจัดแสดงบริเวณตู้หมายเลข 6 วิหารวัดมงคลทุ่งแป้ง


กระเบื้องดินขอมุงหลังคาโบราณ


กระเบื้องดินขอมุงหลังคาโบราณ เป็นกระเบื้องดินเผาชนิดหนึ่งที่มีใช้ในประเทศไทยมาเป็นระยะเวลานาน มีลักษณะเป็นแผ่นสีเหลี่ยมปลายตัดตรง ด้านล่างทำเป็นปุ่มเพื่อเอาไว้เกี่ยวกับระแนงที่รองรับ ระยะหลัง มีการพัฒนารูปแบบให้มีลักษณะปลายมนบ้าง ลบเหลี่ยมบ้าง แล้วแต่ผู้ผลิต แต่ยังคงมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวคือเป็นกระเบื้องหลังคาดินเผาขนาดเล็ก ในอดีตพื้นที่ที่นิยมใช้ คือ ภาคเหนือเป็นส่วนใหญ่ กระเบื้องดินขอมุงหลังคาโบราณชิ้นนี้ในอดีตเป็นกระเบื้องดินขอที่ใช้มุงหลังคาวิหารของวัดมงคลทุ่งแป้ง ซึ่งเป็นวัดที่สันนิษฐานว่ามีอายุมากกว่า 500 ปีขึ้นไป ภายหลังเมื่อมีการบูรณปฏิสังขรณ์ตามสภาพกาลเวลา เจ้าอาวาสรุ่นก่อนจึงได้มีการเก็บรักษาชิ้นส่วนเดิมเอาไว้ ต่อมาพระดอนศักดิ์ กตปุญโญ (เจ้าอาวาสวัดมงคลทุ่งแป้งองค์ปัจจุบัน) จึงได้นำมาจัดแสดง กระเบื้องดินขอมุงหลังคาโบราณชิ้นนี้ ทำจากดินเผา ลักษณะเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมปลายตัดตรง ปลายด้านหนึ่งเป็นส่วนที่เอาไว้เกี่ยวกับระแนงที่รองรับ ลักษณะลวดลายบริเวณดังกล่าวทำเป็นลายดอกล้านนา ดอกตรงกลางจะมีขนาดเล็กในรูปแบบสามเหลี่ยม ด้านข้างออกไปจะเป็นลวดลายเครือเถาว์ หรือเรียกว่าลายพันธุ์พฤกษาภายในกรอบสี่เหลี่ยม ขนาดกว้าง 10.5 ซม. ยาว 27.0 ซม. สูง 2.6 ซม. หนา 0.8 ซม. ปัจจุบันจัดแสดงบริเวณตู้หมายเลข 3 วิหารวัดมงคลทุ่งแป้ง


กระเบื้องดินขอมุงหลังคาโบราณ


กระเบื้องดินขอมุงหลังคาโบราณ เป็นกระเบื้องดินเผาชนิดหนึ่งที่มีใช้ในประเทศไทยมาเป็นระยะเวลานาน มีลักษณะเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมปลายตัดตรง ด้านล่างทำเป็นปุ่มเพื่อเอาไว้เกี่ยวกับระแนงที่รองรับ ระยะหลัง มีการพัฒนารูปแบบให้มีลักษณะปลายมนบ้าง ลบเหลี่ยมบ้าง แล้วแต่ผู้ผลิต แต่ยังคงมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวคือเป็นกระเบื้องหลังคาดินเผาขนาดเล็ก ในอดีตพื้นที่ที่นิยมใช้ คือ ภาคเหนือเป็นส่วนใหญ่ กระเบื้องดินขอมุงหลังคาโบราณชิ้นนี้ในอดีตเป็นกระเบื้องดินขอที่ใช้มุงหลังคาวิหารของวัดมงคลทุ่งแป้ง ซึ่งเป็นวัดที่สันนิษฐานว่ามีอายุมากกว่า 500 ปีขึ้นไป ภายหลังเมื่อมีการบูรณปฏิสังขรณ์ตามสภาพกาลเวลา เจ้าอาวาสรุ่นก่อนจึงได้มีการเก็บรักษาชิ้นส่วนเดิมเอาไว้ ต่อมาพระดอนศักดิ์ กตปุญโญ (เจ้าอาวาสวัดมงคลทุ่งแป้งองค์ปัจจุบัน) จึงได้นำมาจัดแสดง กระเบื้องดินขอมุงหลังคาโบราณชิ้นนี้ ทำจากดินเผา ลักษณะเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมปลายตัดตรง ปลายด้านหนึ่งเป็นส่วนที่เอาไว้เกี่ยวกับระแนงที่รองรับ ลักษณะลวดลายบริเวณดังกล่าวทำเป็นลายดอกล้านนา จะเป็นลายดอกไม้ล้านนาในกรอบกลีบบัวซ้อนกัน 3 กลีบ ขนาด กว้าง 10.8 ซม. ยาว 22.0 ซม. สูง 2.1 ซม. หนา 0.6 ซม. ปัจจุบันจัดแสดงบริเวณตู้หมายเลข 3 วิหารวัดมงคลทุ่งแป้ง


กระเบื้องดินขอมุงหลังคาโบราณ


กระเบื้องดินขอมุงหลังคาโบราณ เป็นกระเบื้องดินเผาชนิดหนึ่งที่มีใช้ในประเทศไทยมาเป็นระยะเวลานาน มีลักษณะเป็นแผ่นสีเหลี่ยมปลายตัดตรง ด้านล่างทำเป็นปุ่มเพื่อเอาไว้เกี่ยวกับระแนงที่รองรับ ระยะหลัง มีการพัฒนารูปแบบให้มีลักษณะปลายมนบ้าง ลบเหลี่ยมบ้าง แล้วแต่ผู้ผลิต แต่ยังคงมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวคือเป็นกระเบื้องหลังคาดินเผาขนาดเล็ก ในอดีตพื้นที่ที่นิยมใช้ คือ ภาคเหนือเป็นส่วนใหญ่ กระเบื้องดินขอมุงหลังคาโบราณชิ้นนี้ในอดีตเป็นกระเบื้องดินขอที่ใช้มุงหลังคาวิหารของวัดมงคลทุ่งแป้ง ซึ่งเป็นวัดที่สันนิษฐานว่ามีอายุมากกว่า 500 ปีขึ้นไป ภายหลังเมื่อมีการบูรณปฏิสังขรณ์ตามสภาพกาลเวลา เจ้าอาวาสรุ่นก่อนจึงได้มีการเก็บรักษาชิ้นส่วนเดิมเอาไว้ ต่อมาพระดอนศักดิ์ กตปุญโญ (เจ้าอาวาสวัดมงคลทุ่งแป้งองค์ปัจจุบัน) จึงได้นำมาจัดแสดง ลักษณะทำจากดินเผา เป็นแผ่นสี่เหลี่ยมปลายตัดตรง ปลายด้านหนึ่งเป็นส่วนที่เอาไว้เกี่ยวกับระแนงที่รองรับ ลักษณะลวดลายบริเวณดังกล่าวทำเป็นลายดอกล้านนา ดอกตรงกลางจะมีขนาดใหญ่ที่สุด ด้านข้างออกไปจะเป็นลวดลายเครือเถาว์ค่อนข้างเต็มบริเวณ หรือเรียกว่าลายพันธุ์พฤกษา ขนาด กว้าง 10.3 ซม. ยาว 22.0 ซม. สูง 2.2 ซม. หนา 0.7 ซม. ปัจจุบันจัดแสดงบริเวณตู้หมายเลข 3 วิหารวัดมงคลทุ่งแป้ง


กระเบื้องดินขอมุงหลังคาโบราณ


กระเบื้องดินขอมุงหลังคาโบราณ เป็นกระเบื้องดินเผาชนิดหนึ่งที่มีใช้ในประเทศไทยมาเป็นระยะเวลานาน มีลักษณะเป็นแผ่นสีเหลี่ยมปลายตัดตรง ด้านล่างทำเป็นปุ่มเพื่อเอาไว้เกี่ยวกับระแนงที่รองรับ ระยะหลัง มีการพัฒนารูปแบบให้มีลักษณะปลายมนบ้าง ลบเหลี่ยมบ้าง แล้วแต่ผู้ผลิต แต่ยังคงมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวคือเป็นกระเบื้องหลังคาดินเผาขนาดเล็ก ในอดีตพื้นที่ที่นิยมใช้ คือ ภาคเหนือเป็นส่วนใหญ่ กระเบื้องดินขอมุงหลังคาโบราณชิ้นนี้ในอดีตเป็นกระเบื้องดินขอที่ใช้มุงหลังคาวิหารของวัดมงคลทุ่งแป้ง ซึ่งเป็นวัดที่สันนิษฐานว่ามีอายุมากกว่า 500 ปีขึ้นไป ภายหลังเมื่อมีการบูรณปฏิสังขรณ์ตามสภาพกาลเวลา เจ้าอาวาสรุ่นก่อนจึงได้มีการเก็บรักษาชิ้นส่วนเดิมเอาไว้ ต่อมาพระดอนศักดิ์ กตปุญโญ (เจ้าอาวาสวัดมงคลทุ่งแป้งองค์ปัจจุบัน) จึงได้นำมาจัดแสดง ลักษณะทำจากดินเผา กระเบื้องส่วนที่เป็นแผ่นสี่เหลี่ยมปลายตัดตรงแตกหายไป เหลือเพียงส่วนที่เอาไว้เกี่ยวกับระแนงที่รองรับ ซึ่งแตกต่อกันไว้ ลักษณะลวดลายบริเวณดังกล่าวทำเป็นลายสามเหลี่ยมต่อกันภายในกรอบสี่เหลี่ยม ขนาด กว้าง 11.1 ซม. สูง 1.9 ซม. ยาว 4.9 ซม. หนา 0.6 ซม. ปัจจุบันจัดแสดงบริเวณตู้หมายเลข 3 วิหารวัดมงคลทุ่งแป้ง


ปลายและลิ่มของแปร


ปลายและลิ่มของแปร ขนาด ยาว 24.2 ซม. กว้าง 23.5 ซม. ทำจากไม้ มีรอยสองหยักและปลายแหลมเป็นรูปดอกบัว วัดเข้ามาประมาณหนึ่งฝ่ามือมีการเจาะรูแล้วมีลิ้มไม้ตอกอยู่เคลือบไม้ด้วยยางรัก ส่วนตรงโคนมีล่องรอยการทำรายของปลวก ในอดีตเป็นหนึ่งของโครงสร้างวิหารวัดมงคลทุ่งแป้ง ซึ่งเป็นวัดที่สันนิษฐานว่ามีอายุมากกว่า 500 ปีขึ้นไป ภายหลังเมื่อมีการบูรณปฏิสังขรณ์ตามสภาพกาลเวลา เจ้าอาวาสรุ่นก่อนจึงได้มีการเก็บรักษาชิ้นส่วนเดิมเอาไว้ ต่อมาพระดอนศักดิ์ กตปุญโญ (เจ้าอาวาสวัดมงคลทุ่งแป้งองค์ปัจจุบัน) จึงได้นำมาจัดแสดง ปัจจุบันจัดแสดงบริเวณตู้หมายเลข 5 วิหารวัดมงคลทุ่งแป้ง


หน้าบัน


หน้าบัน ในอดีตอาจใช้ในการประกอบเป็นส่วนหนึ่งของหน้าบันปราสาทหรือธรรมาสน์หลวง เจ้าอาวาสรุ่นก่อนได้มีการเก็บรักษาเอาไว้ ต่อมาพระดอนศักดิ์ กตปุญโญ (เจ้าอาวาสวัดมงคลทุ่งแป้งองค์ปัจจุบัน) จึงได้นำมาจัดแสดง โดยไม่ทราบแน่ชัดว่าประโยชน์ใช้สอยคือเช่นไร และมาจากวัดมงคลทุ่งแป้งหรือไม่ หน้าบันชิ้นนี้ มีขนาด กว้าง 55.5 ซม. สูง 50.5 ซม. หนา 3.2 ซม. ทำจากไม้ ลักษณะรูปทรงแบบสามเหลี่ยมโดยมีฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีตัวเหงาหรือหางวันในภาษาเหนือขนาบทั้งสองข้างมีการลงรักทาชาดปิดทอง โดยบริเวณตัวเหงาเป็นรูปดอกลายประจำยามแล้วมีเส้นขอบสองเส้น ส่วนตรงกลางเป็นรูปดอกไม้บานบนต้น ตัวเหงานอกจากมีบทบาทสำคัญสำหรับลายไทยแล้ว ยังมีบทบาทสำคัญในด้านสถาปัตยกรรมของไทยอีกด้วย โดยเฉพาะในภาคเหนือที่นิยมนำรูปทรงตัวเหงามาประกอบการออกแบบตกแต่งได้อย่างลงตัว เช่น ราวบันได ซุ้มประตู และขอบคิ้วต่างๆ ปัจจุบันจัดแสดงอยู่นอกตู้จัดแสดง บริเวณด้านข้างพระประธานในวิหารวัดมงคลทุ่งแป้ง


ลูกมะหวด


ลูกมะหวด หรือลูกเคี่ยนในภาษาเหนือ หรือลูกตั้งมักทำด้วยหินหรือไม้เป็นต้น เป็นรูปกลม ๆ ป้อม ๆ คล้ายผลมะหวดเรียงกันเป็นลูกกรงใช้แทนหน้าต่าง ลูกมะหวดชิ้นนี้ ในอดีตเป็นส่วนประกอบของซี่กรงหน้าต่างวิหารวัดมงคลทุ่งแป้ง ซึ่งเป็นวัดที่สันนิษฐานว่ามีอายุมากกว่า 500 ปีขึ้นไป ภายหลังเมื่อมีการบูรณปฏิสังขรณ์ตามสภาพกาลเวลา เจ้าอาวาสรุ่นก่อนจึงได้มีการเก็บรักษาชิ้นส่วนเดิมเอาไว้ ต่อมาพระดอนศักดิ์ กตปุญโญ (เจ้าอาวาสวัดมงคลทุ่งแป้งองค์ปัจจุบัน) จึงได้นำมาจัดแสดง ลักษณะทำจากไม้ตรงปลายทั้งสองด้านมีแกนหลักเพื่อใช้สำหรับยึดติดกับโครงลงมาเป็นกลุ่มลูกแก้ว 6 ลูก โดยลูกที่ 3 และ 6 จะมีขนาดใหญ่กว่าลูกอื่น ขนาดยาว 82.0 ซม. ปัจจุบันจัดแสดงภายในตู้หมายเลข 4 วิหารวัดมงคลทุ่งแป้ง


ช่อฟ้า


ช่อฟ้า คือ ชื่อตัวไม้เครื่องประกอบกรอบหน้าบัน ในอดีตเป็นส่วนประกอบที่ติดตั้งอยู่ตอนปลายสุดหน้าบันวิหารวัดมงคลทุ่งแป้ง ซึ่งเป็นวัดที่สันนิษฐานว่ามีอายุมากกว่า 500 ปีขึ้นไป ภายหลังเมื่อมีการบูรณปฏิสังขรณ์ตามสภาพกาลเวลา เจ้าอาวาสรุ่นก่อนจึงได้มีการเก็บรักษาชิ้นส่วนเดิมเอาไว้ ต่อมาพระดอนศักดิ์ กตปุญโญ (เจ้าอาวาสวัดมงคลทุ่งแป้งองค์ปัจจุบัน) จึงได้นำมาจัดแสดง ลักษณะทำจากไม้ถากให้เป็นรูปคล้ายหัวครุฑมีหงอนยาวชูขึ้นคดโค้งเล็กน้อย ตรงปากเป็นจะงอยยื่นออกมา ส่วนท้ายสุดมีปลายแหลม อกเป็นเหลี่ยมแบบอกครุฑ มีการลงรักทาชาดและปิดทอง ขนาด สูง 179.0 ซม. กว้าง 23.0 ซม. ปัจจุบันจัดแสดงภายในตู้หมายเลข 4 วิหารวัดมงคลทุ่งแป้ง


เหล็กลิ่มดามหลังจองวิหารตรึงช่อฟ้า


เหล็กลิ่มดามหลังจองวิหารตรึงช่อฟ้า ในอดีตเป็นส่วนประกอบสำหรับตรึงหรือดามหลังจองวิหารวัดมงคลทุ่งแป้งให้แน่น ซึ่งเป็นวัดที่สันนิษฐานว่ามีอายุมากกว่า 500 ปีขึ้นไป ภายหลังเมื่อมีการบูรณปฏิสังขรณ์ตามสภาพกาลเวลา เจ้าอาวาสรุ่นก่อนจึงได้มีการเก็บรักษาชิ้นส่วนเดิมเอาไว้ ต่อมาพระดอนศักดิ์ กตปุญโญ (เจ้าอาวาสวัดมงคลทุ่งแป้งองค์ปัจจุบัน) จึงได้นำมาจัดแสดง เป็นเหล็กแท่งยาว คดงอขึ้นเล็กน้อย ตรงบริเวณที่คดงอมีเหล็กแตกออก ส่วนปลายงอเข้าเป็นรูปตะขอ ปลายด้านหนึ่งมีเหล็กตรึงช่อฟ้าวิหารติดอยู่ ซึ่งมีลักษณะบิดงอขึ้นและมีรูสำหรับยึดกับเหล็กลิ่มดามหลังจองวิหาร ขนาด ยาว 46.4 ซม. ปัจจุบันจัดแสดงภายในตู้หมายเลข 3 วิหารวัดมงคลทุ่งแป้ง


ปั้นลมรูปพญานาคล้านนาโบราณ


ปั้นลมพญานาคล้านนาโบราณ ขนาดสูง 65 เซนติเมตร ยาว 400.0 เซนติเมตร ทำจากไม้สัก ลักษณะใบระกาหางหงหรือป้านลมทำจากไม้แกะสลักประดับด้วยแก้วจืน หางหงส์เป็นรูปเศียรพญานาค ใช้สำหรับประดับตกแต่งบริเวณปั้นลมวิหาร ปั้นลม หรือป้านลม คือ ชื่อไม้แผ่นที่พาดบนหัวแป ใช้ปิดริมหลังคาด้านหัวและท้ายเรือนกันลมตีเครื่องมุง สำหรับประวัติปั้นลมพญานาคล้านนาชิ้นนี้ ในอดีตเป็นใช้ประดับตกแต่งบริเวณปั้นลมวิหารของวัดมงคลทุ่งแป้ง ซึ่งเป็นวัดที่สันนิษฐานว่ามีอายุมากกว่า 500 ปีขึ้นไป ภายหลังเมื่อมีการบูรณปฏิสังขรณ์ตามสภาพกาลเวลา เจ้าอาวาสรุ่นก่อนจึงได้มีการเก็บรักษาชิ้นส่วนเดิมเอาไว้ ต่อมาพระดอนศักดิ์ กตปุญโญ (เจ้าอาวาสวัดมงคลทุ่งแป้งองค์ปัจจุบัน) จึงได้นำมาจัดแสดง ปัจจุบันจัดแสดงนอกตู้จัดแสดง วิหารวัดมงคลทุ่งแป้ง


ตะปูไม้สักโบราณ


ตะปูไม้สักโบราณ ขนาดยาว 5.5 เซนติเมตร สภาพสมบูรณ์ อายุประมาณ 500 ปีขึ้นไป ทำจากไม้สัก ลักษณะปลายแหลม รูปร่างคล้ายเข็ม ประโยชน์ใช้สอยคือใช้ตอกลงไปบนสิ่งใดสิ่งหนึ่งเช่นท่อนไม้เพื่อไม่ให้แตกแยกออกจากกัน หรือใช้สำหรับยึด หรือตรึงวัตถุต่าง ๆ ในงานก่อสร้าง สำหรับประวัติของตะปูไม้สักโบราณ ชิ้นนี้คือ ในอดีตเป็นตะปูไม้ที่ใช้ยึดตรึงส่วนโครงสร้างวิหารส่วนที่เป็นไม้ของวัดมงคลทุ่งแป้ง ซึ่งเป็นวัดที่สันนิษฐานว่ามีอายุมากกว่า 500 ปีขึ้นไป ภายหลังเมื่อมีการบูรณปฏิสังขรณ์ตามสภาพกาลเวลา เจ้าอาวาสรุ่นก่อนจึงได้มีการเก็บรักษาชิ้นส่วนเดิมเอาไว้ ต่อมาพระดอนศักดิ์ กตปุญโญ (เจ้าอาวาสวัดมงคลทุ่งแป้งองค์ปัจจุบัน) จึงได้นำมาจัดแสดง ปัจจุบันจัดแสดงภายในตู้หมายเลข 3 วิหารวัดมงคลทุ่งแป้ง


เหล็กตรึงหลังช่อฟ้าวิหาร


เหล็กตรึงหลังช่อฟ้าวิหาร ขนาดกว้าง 2.0 ซม. ยาว 8.0 ซม. สภาพสมบูรณ์ ทำจากโลหะ มีลักษณะเป็นเหล็กที่มีขนาดเล็กรูปทรงคล้ายตะปูแต่มีลักษณะแบน มีรู ส่วนปลายจะแหลม ในอดีตเป็นส่วนประกอบสำหรับยึดช่อฟ้าของวิหารวัดมงคลทุ่งแป้ง ซึ่งเป็นวัดที่สันนิษฐานว่ามีอายุมากกว่า 500 ปีขึ้นไป ภายหลังเมื่อมีการบูรณปฏิสังขรณ์ตามสภาพกาลเวลา เจ้าอาวาสรุ่นก่อนจึงได้มีการเก็บรักษาชิ้นส่วนเดิมเอาไว้ ต่อมาพระดอนศักดิ์ กตปุญโญ (เจ้าอาวาสวัดมงคลทุ่งแป้งองค์ปัจจุบัน) จึงได้นำมาจัดแสดง ปัจจุบันจัดแสดงภายในตู้หมายเลข 3 วิหารวัดมงคลทุ่งแป้ง


เหล็กลิ่มโบราณตรึงสลักปั้นลมวิหาร


เหล็กลิ่มโบราณตรึงสลักปั้นลมวิหาร ขนาดยาว 19 เซนติเมตร สภาพสมบูรณ์ ทำจากโลหะ ลักษณะบริเวณหัวของเหล็กลิ่มมีลักษณะเป็นเหล็กหนารูปสี่เหลี่ยมยาวลงมา ตรงปลายคดงอ และเรียวแหลม ในอดีตเป็นส่วนประกอบสำหรับยึดสลักปั้นลมของวิหารวัดมงคลทุ่งแป้ง ซึ่งเป็นวัดที่สันนิษฐานว่ามีอายุมากกว่า 500 ปีขึ้นไป ภายหลังเมื่อมีการบูรณปฏิสังขรณ์ตามสภาพกาลเวลา เจ้าอาวาสรุ่นก่อนจึงได้มีการเก็บรักษาชิ้นส่วนเดิมเอาไว้ ต่อมาพระดอนศักดิ์ กตปุญโญ (เจ้าอาวาสวัดมงคลทุ่งแป้งองค์ปัจจุบัน) จึงได้นำมาจัดแสดง ปัจจุบันจัดแสดงภายในตู้หมายเลข 3 วิหารวัดมงคลทุ่งแป้ง


ตะปูเหล็กลิ่ม (สิงขวานร)


ตะปูเหล็กลิ่ม หรือสิงขวานร เป็นวัตถุสำหรับตรึงสิ่งอื่นให้แน่น โดยใช้ค้อนเป็นต้นตอกลงไป ขนาดยาว 5.5 เซนติเมตร เป็นตะปูเหล็กลิ่มมีอายุประมาณ 500 ปีขึ้นไป ทำจากโลหะ มีลักษณะเป็นรูปร่างปลายแหลมยาว ตรงส่วนบริเวณหัว มีลักษณะกลมแบน ในอดีตเป็นตะปูเหล็กลิ่มที่ใช้ยึดตรึงส่วนโครงสร้างวิหารของวัดมงคลทุ่งแป้ง ซึ่งเป็นวัดที่สันนิษฐานว่ามีอายุมากกว่า 500 ปีขึ้นไป ภายหลังเมื่อมีการบูรณปฏิสังขรณ์ตามสภาพกาลเวลา เจ้าอาวาสรุ่นก่อนจึงได้มีการเก็บรักษาชิ้นส่วนเดิมเอาไว้ ต่อมาพระดอนศักดิ์ กตปุญโญ (เจ้าอาวาสวัดมงคลทุ่งแป้งองค์ปัจจุบัน) จึงได้นำมาจัดแสดง ปัจจุบันจัดแสดงภายในตู้หมายเลข 3 วิหารวัดมงคลทุ่งแป้ง