ไม้โกงเกง / โก๋งเกง (ภาษาไตลื้อ)


ไม้โก๋งเกงเป็นไม้ยาวเลยศรีษะ ขนาดพอดีมือ ส่วนใหญ่นิยมใช้ไม้ไผ่ ลิดตามข้อให้เกลี้ยงจากปลายด้านหนึ่งสูงขึ้นมาประมาณครึ่งท่อนจะเจาะรูและใช้ไม้ไผ่ขนาดเล็ก ท่อนสั้นเหลาปลายให้พอดีกับช่องที่เจาะไว้ใส่เข้าไปในช่องที่เจาะ ให้ไม้ท่อนสั้นตั้งฉากกับไม้ท่อนยาว ตอกตะปูเพื่อความหนาแน่นของไม้ ไม้โก๋งเกงชิ้นนี้มีขนาดความกว้าง 8 เซนติเมตร ยาว 33.5 เซนติเมตร สูง 183 เซนติเมตร มีสภาพสมบูรณ์


เครื่องเก็บด้าย / เปียด้าย (ภาษาไตลื้อ)


ที่เก็บด้าย หรือในภาษาไตลื้อเรียกว่า เปียด้าย ทำจากไม้เนื้อแข็งโดยที่รูปแบบหรือลักษณะนั้นขึ้นอยู่กับผู้ผลิตเป็นเครื่องมือสำหรับกรอด้ายหรือกวักด้ายจากระวิวเข้ามาม้วนเก็บไว้ให้เป็นระเบียบเพื่อนำไปทอผ้าต่อไป ขนาดของที่เก็บด้ายนั้นยาว 32 เซนติเมตร สูง 20.9 เซนติเมตร กว้าง 21เซนติเมตร โดยมีนางไหล บุญเพิ่มพูน เป็นคนทำและมอบให้ศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาไทยไตลื้อ บ้านใบบุญ มีอายุสะสมโดยประมาณ 100 ปี


เดินกะลา


การเดินกะลานั้นเป็นการละเล่นที่นิยมมากของเด็กในอดีต เพราะกะลานั้นเป็นของเล่นที่หาง่ายมีอยู่ทั่วไป การเดินบนกะลานั้นผู้ที่เริ่มฝึกจะรู้สึกเจ็บเท้าเพราะความโค้งและความแข็งแรงของกะลาแต่ถ้าได้ฝึกฝนบ่อยๆอาการเจ็บจะหายไป ทั้งนี้กะลายังใช้ในการนวดผ่าเท้าได้อีกด้วยและยังฝึกเรื่องของการทรงตัวได้เป็นอย่างดี มีลักษณะเป็นกะลาสองอันสำหรับใช้เท้าคีบ มีเชือกสำหรับถือ โดย นาย อนันท์ บัวมะลิได้ทำขึ้นมาเองเพื่อใช้ในศูนย์การเรียนรู้


กระดิ่งวัว


กระดิ่งสำหรับคล้องคอวัว เป็นเครื่องมือสำหรับใช้บอกตำแหน่งของสัตว์เลี้ยงเมื่ออยู่ตามไร่ตามสวน มีลักษณะเป็นวงรีคล้ายระฆังข้างในกลวง มีกระดิ่งเหล็กคล้องอยู่ตรงกลาง นิยมใช้คล้องคอวัว เมื่อวัวเดินไปไหนมาไหนก็จะทำให้เกิดเสียง กระดิ่งวัวชิ้นนี้ เดิมเป็นสมบัติของนายพรมมา บัวชุ่มใจ ชาวไทลื้อ มีขนาดสูง 6.9 เซนติเมตร กว้าง 4.8 เซนติเมตร สภาพชำรุด เนื่องจากมีรอยบุบและเกิดสนิม มีอายุราว 80 ปี ปัจจุบันได้มอบให้ศูนย์การเรียนรู้ฯ เป็นผู้ดูแลและเก็บรักษา


นาฬิกาโบราณ


นาฬิกาโบราณเรือนนี้ เดิมเป็นสมบัติของพ่อน้อยเมืองแก้ว บัวมะลิ ปัจจุบันมอบให้กับศูนย์การเรียนรู้ฯ นาฬิกาเรือนนี้มีลักษณะเป็นกรอบสี่เหลี่ยมทรงสูง มีหน้าปัดนาฬิกาอยู่ตรงกลางและมีลูกตุ้มบอกเวลาทำจากแสตนเลส ในอดีตก่อนจะมีนาฬิกาใช้ ผู้คนใช้นาฬิกาแดดโดยใช้แสงอาทิตย์หรือระฆังเพื่อตีเป็นสัญญาณบอกเวลา


หม้อใส่ข้าวสาร


หม้อใส่ข้าวสารขนาดใหญ่ใบนี้ เป็นเครื่องปั้นดินเผาที่ในอดีตมีการนำไปใช้ประโยชน์หลากหลายรูปแบบ แต่สำหรับชิ้นนี้ นางอุษา บุญชุ่มใจ ผู้เป็นเจ้าของ ได้นำมาใส่ข้าวสารเพื่อป้องกันมอดหรือแมลงที่อยู่ในข้าว นอกจากนี้ คนในอดีตยังนิยมนำมาใส่น้ำดื่ม เนื่องจากดินเผามีคุณสมบัติช่วยรักษาความเย็นของน้ำ ทำให้น้ำที่อยู่ในหม้อมีความเย็นตลอดเวลา สำหรับขั้นตอนการผลิตหม้อนั้น เริ่มต้นจากการเตรียมดินแล้วนำมาตากแห้ง จากนั้นนำไปร่อนตะแกรงแล้วผสมกับทรายโดยมีสัดส่วนการผสมในปริมาณ ดิน 5 ส่วน ทราย 3 ส่วน ผสมน้ำแล้วนวดผสมให้เข้ากัน แล้วจึงนำมาขึ้นรูปเป็นหม้อ จากนั้นจึงนำไปเผาโดยนำไม้ไผ่ผ่าซีกมาวางรอง จากนั้นปูทับด้วยฟาง แล้วจึงนำหม้อวางลงไปเผาก่อนนำไปใช้งาน


กระติ๊บข้าว


กระติ๊บใส่ข้าว เป็นเครื่องจักสาน ทำมาจากไม้ไผ่และใบจาก กระติ๊บใบนี้มีขนาดความสูง 23 เซนติเมตร กว้าง 19 เซนิเมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 9.5 เซนติเมตร มีสภาพสมบูรณ์ นางอุษา บุญชุ่มใจ เป็นผู้มอบให้กับศูนย์การเรียนรู้


ที่วางกระบวย / ซองน้ำโบย (ภาษาไตลื้อ)


ที่วางกระบวย หรือภาษาไตลื้อเรียกว่า “ซองใส่น้ำโบย” เป็นภาชนะที่ใช้สำหรับวางกระบวย หรือน้ำโบย โดยจะตั้งอยู่คู่กับหม้อน้ำ ใช้สำหรับวางกระบวยหลังจากใช้งานเสร็จแล้ว ซองใส่น้ำโบยนี้เป็นสมบัติเดิมของร.ต.ท.อนันต์ บัวมะลิ มีอายุสะสมประมาณ 5 ปี อยู่ในสภาพสมบูรณ์ มีขนาดความสูง 32.2 เซนติเมตร และกว้าง 28.2 เซนติเมตร


ถ้วยดินเผาเคลือบ


ถ้วยดินเผาเคลือบชิ้นนี้มีขนาดความสูง 6 เซนติเมตร กว้าง 5 เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 4.5 เซนติเมตร มีลักษณะเป็นวงกลมขนาดเล็ก ปากถ้วยลึก ก้นถ้วยเล็ก ผลิตมาจากเนื้อดินละเอียดนำไปเผาแล้วเคลือบ หรือที่เรียกว่าเซรามิก ถ้วยดินเผาชิ้นนี้มีสภาพสมบูรณ์ ทางศูนย์การเรียนรู้ฯ ได้รับมอบมาจากนางอุสา บุญชุ่มใจ ซึ่งได้เก็บสะสมถ้วยชิ้นนี้มากว่า 70 ปี ในอดีตถ้วยใบนี้ใช้เป็นภาชนะสำหรับใส่อาหารเพื่อบริโภคและเป็นของสะสมใช้สำหรับตกแต่งภายในบ้านเรือนเพื่อให้เกิดความสวยงามยามมีแขกมาเยี่ยมเยือน คุณสมบัติของถ้วยดินเผาเคลือบชิ้นนี้สามารถอุ้มน้ำและทนความร้อนได้ ปัจจุบันความนิยมในการใช้เครื่องดินเผาเคลือบลดน้อยลงตามเทคโนโลยีที่มีความทันสมัยมากขึ้น ทำให้มีการเปลี่ยนรูปแบบวัสดุที่ใช้ในการผลิตจากดินกลายมาเป็นเมลามีน พอลิเมอร์ หรือสแตนเลส ที่มีความคงทนและเป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน ส่วนภาชนะดินเผาเคลือบนั้นปัจจุบันนิยมเก็บสะสมหรือนำมาจัดแสดงเป็นส่วนมาก


ส้อมแทงปลา / ส้อมเหยี่ยน


“ส้อมแทงปลา” หรือ “ส้อมเหยี่ยน” ในภาษาไตลื้อ เป็นอุปกรณ์ช่วยในการจับปลาตามแม่น้ำหรือทุ่งนา โดยลักษณะทั่วไปของ “ปลา” จะว่ายไปมาอย่างอิสระในน้ำ และจับตัวได้ ส้อมเหยี่ยนจึงเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ที่แสดงถึงภูมิปัญญาชาวบ้านในการคิดค้นเครื่องมือช่วยดักจับปลา โดยออกแบบแท่งเหล็กให้มีลักษณะยาวเรียว ส้อมเหยี่ยมชิ้นนี้มีขนาดสูง 87.6 เซนติเมตร เจ้าของเดิมคือนายพรมมา บุญชุ่มใจ เก็บสะสมมาแล้วกว่า 80 ปี


หมอนผาสามเหลี่ยม / หมอนอิง


หมอนผา เดิมเป็นของนางพรรษา บัวมะลิ ปัจจุบันได้มอบให้กับศูนย์การเรียนรู้ฯ หมอนผาชิ้นนี้มีอายุการสะสมประมาณ 4 ปี ในอดีตหมอนผาจะใช้ในงานมงคลพิธีกรรมทางศาสนา เช่น งานบวช เป็นต้น หมอนผามีลักษณะเป็นทรงสามเหลี่ยม ลวดลายบนหมอนจะมีเอกลักษณ์เฉพาะของท้องถิ่น ส่วนลวดลายบนหมอนผาใบนี้เป็นลวดลายภูมิปัญญาของชาวไทลื้อ หมอนผาใบนี้มีขนาด 47 เซนติเมตร ความยาว 26 เซนติเมตร อยู่ในสภาพสมบูรณ์


ที่คดข้าว / โกะข้าว


ที่คดข้าวชิ้นนี้ยังคงมีสภาพสมบูรณ์ เดิมเป็นสมบัติของนายพรมมา บุญชุ่มใจ ผลิตจากไม้ชิ้นใหญ่ มีความกว้าง 48 เซนติเมตร สูง 68 เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 24 เซนติเมตร ตรงกลางขุดเป็นรูปสี่เหลี่ยม เว้นจากขอบประมาณ 5 เซนติเมตร มีด้ามสั้นสำหรับจับ และมีการตกแต่งขัดเกลาให้ผิวเรียบ ภาชนะชิ้นนี้ใช้สำหรับคดข้าวเหนียวที่นึ่งสุกใหม่ๆ เพื่อให้ไอน้ำและความร้อนออกจากข้าวก่อนนำไปใส่กระติ๊บข้าว ทั้งนี้ ไม่ควรนำที่คดข้าวไปผึ่งแดด เพราะจะทำให้เนื้อไม้แตกได้ง่าย


สุ่มไก่ / แห้บไก่ (ภาษาไตลื้อ)


สุ่มไก่ หรือคอกไก่ ในภาษาไทลื้อเรียกว่า แห้บไก่ ทำขึ้นมาจากไม้ไผ่ ดดยลักษณะของแห้บไก่มีลักษณะเป็นทรงกลม ข้างบนมีช่องสำหรับใส่ไก่ และมีฝาปิดเพื่อป้องกันไก่หนีออก ทำมาจากไม้ไผ่สานซึ่งแล้วแต่ขนาดที่ต้องการ สำหรับแห้บไก่ชิ้นนี้มีขนาดปานกลาง โดยมีความสูง 42 เซนติเมตร ความกว้าง 44 เซนติเมตร อยู่ในสภาพสมบูรณ์ เดิมเป็นสมบัติของนายอินตั๋น บัวมะลิ


คราดนา / เฝ่อ (ภาษาไตลื้อ)


คราดนา หรือ เฝ่อ ในภาษาไทลื้อ เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในการเกษตร มีลักษณะเป็นคาน มีคันชักที่เป็นซี่ห่างๆ สำหรับกวาดหญ้า และไถดินให้ร่วนซุย เฝ่อชิ่นนี้ทำมาจากไม้เนื้อแข็ง มีอายุประมาณ 80 ปี มีขนาดความสูง 90 เซนติเมตร ความยาว 100 เซนติเมตร เดิมเป็นสมบัติของนายพรหมา บุญชุ่มใจ


ไม้หาบ


ไม้หาบชิ้นนี้ ใช้สำหรับช่วยหาบของหรือหาบน้ำ ทำด้วยไม้ไผ่ แม่ค้านิยมนำไม้หาบใช้หาบของขึ้นบ่าเพื่อขายของ หรือใช้สำหรับทุ่นแรงในการขนย้ายสิ่งของได้อย่างสะดวกขึ้น หลักการใช้งาน จะต้องวางวัตถุลงบนปลายไม้หาบ ขณะเดินต้องพยุงไม้หาบ โดยต้องออกแรงพยายามบังคับปลายคานข้างหนึ่ง ปลายอีกข้างหนึ่งก็จะเคลื่อนที่ ไม้หาบนี้มีขนาดความยาว 177 เซนติเมตร ความกว้าง 5 เซนติเมตร นายอนันท์ บัวมะลิ ได้มอบให้ศูนย์การเรียนรู้ฯ


คันไถ / หงอน (ภาษาไทลื้อ)


คันไถ หรือหงอน ในภาษาไทลื้อ เดิมเป็นของนายพรหมา บุญชุ่มใจ มีขนาดความยาว 123 เซนติเมตร คันไถเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในการทำการเกษตรโดยใช้ในการพรวนดินให้ร่วนซุย ลักษณะของหงอนแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 เป็นด้ามจับ ส่วนที่ 2 เป็นที่สำหรับดันดิน และส่วนที่ 3 เป็นใบมีดใช้สำหรับปาดหน้าดิน


ปืน


ปืนชิ้นนี้ มีขนาดความยาว 142 เซนติเมตร ทำขึ้นจากเหล็กและไม้ มีอายุประมาณ 70 ปี ปัจจุบันมีสภาพชำรุด โดยมีสนิมขึ้นบริเวณกระบอกปืน เจ้าของเดิม คือ นายพรมมา บุญชุ่มใจ เป็นผู้มอบให้ศูนย์การเรียนรู้ฯ เป็นผู้ดูแลและจัดแสดง ในอดีตใช้ปืนเป็นอาวุธที่ใช้ในการเข้าป่าล่าสัตว์เพื่อนำเนื้อสัตว์มารับประทานในครัวเรือน นอกจากนี้ยังใช้เป็นอาวุธในการป้องกันตัวจากโจรป่าที่จะปล้นเอาวัวควายที่อยู่ในคอกอีกด้วย


แค่ว / ตะแคว (ภาษาไตลื้อ)


แค่ว หรือตะแคว ในภาษาไทลื้อ มีลักษณะเด่น คือทำมาจากไม้ไผ่สานกันเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยม ยึดเกี่ยวไว้ด้วยลวด มีเชือกสำหรับคล้องกับลวดทั้ง 4 มุมเพื่อเป็นที่แขวน ตะแควชิ้นนี้เดิมเป็นสมบัติของนายอนันต์ บัวมะลิ มีขนากความกว้าง 76 เซนติเมตร ความสูง 74 เซนติเมตร ตะแควใช้สำหรับตากอาหาร เช่น ปลา เป็นต้น


กระบวย / น้ำโบย (ภาษาไตลื้อ)


“กระบวย” หรือภาษาไทลื้อ เรียกว่า “น้ำโบย” จัดเก็บสะสมมาแล้วประมาณ 3 ปี ส่วนด้ามทำมาจากไม้ ส่วนหัวทำมาจากกะลามะพร้าว เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ที่เกิดจากภูมิปัญญาชาวบ้านซึ่งนำมาใช้ในการตักน้ำดื่ม ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ในหลองข้าวอุ๊ยติ๊บ โดยยังคงมีสภาพที่สมบูรณ์ ขนาดของน้ำโบยมีความกว้าง 9 เซนติเมตร และความยาว 41 เซนติเมตร


แผ่นเสียง


แผ่นเสียงนี้ เดิมเป็นของหนานโอ มีระยะเวลาการสะสมประมาณ 50 ปี มีลักษณะเป็นแผ่นวงกลมสีดำ มีสภาพชำรุด ตัวแผ่นมีรอยร้าว วิธีการใช้งานจะนำแผ่นเสียงไปวางบนเครื่องเล่นแผ่นเสียง ปัจจุบันประเทศไทยได้เลิกผลิตแผ่นเสียงในระบบอุตสาหกรรมตั้งแต่ปี พ.ศ.2535 เป็นต้นมา แต่ยังคงเป็นที่นิยมของนักสะสมของเก่าในปัจจุบัน


กุ๋ง / หน้าไม้


“กุ๋ง” หรือ “หน้าไม้” ใช้สำหรับล่าสัตว์ กุ๋งมีลักษณะยาวประกอบด้วยไม้สองอันติดกันคล้ายรูไม้กางเขน มีสภาพชำรุดบริเวณส่วนกลาง ปัจจุบันมีอายุสะสมประมาณ 80 ปี มีขนาดความกว้าง 89 เซนติเมตร ยาว 54 เซนติเมตร และสูง 54 เซนติเมตร ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ภายในหลองข้าวอุ๊ยติ๊บ ภายในศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาไทยไตลื้อ บ้านใบบุญ


โทรศัพท์


โทรศัพท์เครื่องนี้เดิมเป็นของนายณรงค์ ณ เชียงใหม่ มีอายุประมาณ 80 ปีขึ้นไป มีลักษณะเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมคางหมูสีดำ มีสายสำหรับใช้เป็นสายรับเชื่อมสัญญาณในการติดต่อสื่อสาร ตัวเครื่องโทรศัพท์ทำด้วยพลาสติกและเหล็ก ขนาดของโทรศัพท์ มีความสูง 13 เซนติเมตร กว้าง 17 เซนติเมตร มีสภาพชำรุดเนื่องจากอุปกรณ์ในตัวเครื่องส่วนอื่นหลุดแยกออกจากกัน และสายที่ต่อจากตัวเครื่องขาดหลุด ไม่สามารถใช้งานได้


รถจักรยาน / รถถีบ


รถจักรยานคันนี้มีลักษณะเป็นเหล็กทั้งคัน บริเวณด้านหลังมีตัวหนีบสำหรับใช้หนีบสัมภาระต่างๆ มีเบาะทำจากหนัง มีขาตั้งสำหรับใช้ตั้งเพื่อไม่ให้จักรยานล้ม จักรยานคันนี้มีความสูง 102 เซนติเมตร ยาว 188 เซนติเมตร มีสภาพชำรุดเนื่องจากสนิมและเบาะขาด เจ้าของเดิมคือนายอินปั๋น บัวมะลิ ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว มีช่วงเวลาในการเก็บสะสมนานถึง 120 ปี สำหรับประวัติของจักรยานในประเทศไทยนั้น ได้เริ่มเป็นที่นิยมตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 เป็นต้นมา เป็นสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการเดินทางโดยใช้เป็นเครื่องทุ่นแรง ปัจจุบันยังนิยมใช้เป็นเครื่องออกกำลังกายอีกด้วย


เครื่องโม่ข้าว


เครื่องโม่ข้าว เป็นอุปกรณ์สำหรับโม่ข้าว ลักษณะเป็นฐานปูนทรงกลม มีไม้สำหรับใช้จับเพื่อหมุน เครื่องโม่ข้าวมีขนาดความสูง 25 เซนติเมตร ความกว้าง 53.5 เซนติเมตร ความยาว 42.5 เซนติเมตร เดิมเป็นของนางจันติ๊บ บัวมะลิ และปัจจุบันได้มอบให้กับศูนย์การเรียนรู้ฯ


ไม้เท้า / ไม้เต๊า (ภาษาไตลื้อ)


ไม้เท้ากระดูกงูชิ้นนี้ เดิมเป็นสมบัติของนายเมืองแก้ว บัวมะลิ ซึ่งได้รับมาจากผู้สูงอายุชาวยองในประเทศพม่า สะสมมาแล้วกว่า 50 ปีก่อนที่จะมอบให้กับศูนย์การเรียนรู้ฯ ส่วนหัวและส่วนปลายของไม้เท้าทำมาจากไม้สีน้ำตาล ส่วนลำตัวของไม้เท้าทำมาจากกระดูกงู ไม้เท้ามีความยาว 83 เซนติเมตร ในอดีตผู้สูงอายุจะใช้ไม้เท้านี้ในการช่วยเดินหรือพยุงให้เดินได้คล่องตัวมากขึ้น ปัจจุบันไม้เท้ากระดูกงูเก็บรักษาไว้ที่หลองข้าวอุ้ยติ๊บโดยยังคงมีสภาพสมบูรณ์


ดาบ


ดาบเล่มนี้เดิมเป็นสมบัติของนายตั๋น บัวมะลิ ชาวไทลื้อ ซึ่งปัจจุบันได้เสียชีวิตลงแล้ว ในอดีตดาบเป็นอาวุธที่ผู้ชายมักมีไว้ประจำกายเพื่อใช้ในโอกาสต่างๆ ดาบมีหลากหลายชนิด จากการสัมภาษณ์นางพรรษา บัวมะลิ ให้ข้อมูลว่า ดาบมีหลายประเภทโดยสามารถจำแนกตามลักษณะของด้ามและใบมีด เช่น ดาบปลายบัว ดาบปลายใบข้าว ดาบปลายใบคาา ส่วนดาบเล่มนี้เป็นดาบปลายใบข้าว ด้ามถักด้วยหวายคาดเชือกสำหรับใช้สะพาย ดาบมีขนาด ความยาว 81 เซนติเมตร อยู่ในสภาพชำรุด เนื่องจากตัวดาบเกิดสนิม


จักรเย็บผ้า / จักรยิบผ้า (ภาษาไตลื้อ)


จักรเย็บผ้า หรือจักรยิบผ้าเครื่องนี้ทำจากไม้และเหล็ก มีอายุกว่า 150 ปี เดิมเป็นของสะสมของนางสุคำ ยานะ ซึ่งได้มอบไว้ให้ศูนย์การเรียนรู้เพื่ออนุรักษ์และเก็บรักษา จักรเย็บผ้าใช้สำหรับเย็บผ้า ตัดชุด และแก้ไขส่วนต่างๆ ในอดีตเป็นของใช้ประจำในครัวเรือนของผู้หญิง สำหรับจักรเย็บผ้าเครื่องนี้มีขนาดความยาว 117 เซนติเมตร สูง 99 เซนติเมตร อยู่ในสภาพชำรุดเนื่องจากไม้ของจักรเย็บผ้ายกขึ้น และเหล็กเกิดสนิม ไม่สามารถใช้งานได้


ครกตำข้าว / ครกมอง / มองตำข้าว (ภาษาไตลื้อ)


ครกตำข้าว หรือครกมองในภาษาไตลื้อ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับตำข้าวในอดีต ลักษณะทำมาจากไม้ มีขนาดความยาว 341 เซนติเมตร ความกว้าง 67 เซนติเมตร ครกมองชิ้นนี้เดิมเป็นของนางจันทร์ติ๊บ บัวมะลิ ได้มอบให้กับศูนย์การเรียนรู้ฯ มีอายุการสะสมประมาณ 100 ปี


แอ๊บหมาก


แอ๊บหมาก เครื่องเขินชนิดหนึ่งของชาวเหนือ แอ๊บหมากชิ้นนี้เดิมเป็นของนางคำ บัวมะลิ ได้มอบให้กับศูนย์การเรียนรู้ฯ แอ๊บหมากทำมาจากไม้ไผ่ ผ่านขั้นตอนการขนสานขึ้นรูปร่างเป็นทรงกลม ชาวเหนือจะเรียกว่าคัวฮัก เพราะเครื่องเขินเป็นเหมือนคัวฮักคัวหวงของชาวเหนือ แอ๊บหมากชิ้นนี้มีขนดความสูง 9.3 เซนติเมตร ความกว้าง 21.5 เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 10.75 เซนติเมตร


กรรไกร


ด้ามจับเป็นทรงกลม ส่วนปลายเป็นแท่งยาวและปลายมีขนาดแหลมคม


ขอขุดเห็ดเพาะ


เป็นด้ามเหล็กยาวมีขอใช้สำหรับขุดเห็ดเพาะ


ที่ตักน้ำมัน


เป็นลักษณะทรงกระบอกสั้นๆ มีด้ามจับที่ยาว ส่วนปลายด้ามจับมีลักษณะงอ


ถาด


เป็นลักษณะทรงกลมแบน มีขอบสูงขึ้นมานิดหน่อยและมีหูจับ 2 ข้าง


ตราชั่ง


เป็นเหล็กยาวมีลูกตุ้มห้อยทั้งสองข้าง ใช้ในการชั่งของ


ไฟฉายเล็ก


เป็นวงกลมทรงสูง หน้าปัดไฟฉายใหญ่กว่าด้ามจับ


ไฟฉายใหญ่


เป็นวงกลมทรงสูง หน้าปัดไฟฉายใหญ่กว่าด้ามจับ


ปิ่นโต


เป็นทรงกระบอกมีปิ่นโต5ชั้นและมีฝาปิดด้านบนและมีหูหิ้วเพื่อสะดวกในการถือ


ตะเกียง


ฐานเป็นเหล็กมีน้ำหนักมาก ส่วนกลางจะมีกระจกรอบๆและส่วนบนสุดเป็นผาดรอบกันความร้อนและมีหูจับ


เตารีดถ่าน


เป็นเหล็กมีด้านจับเป็นไม้ที่มีเปิดเพื่อใส่ถ่ายไฟ


หวดซาวข้าว


ฐานสานด้านบนเป็นลักษณะทรงกลม ฐานเป็นทรงสี่เหลี่ยม


สะล้อเล็ก


เป็นคันไม้ยาวมีกะลาข้างล่างเจาะรูมีสองสาย


ขลุ่ยเล็ก


เป็นท่อยาว มีรูเป่าและรูสำหรับใช้มือกด


วิทยุเทปกลาง


เป็นทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีหูหิ้วและเสาอากาศ เปิดเทป และเสียบไฟ ใส่ถ่าน


ซึงเล็ก


คล้ายกีต้าร์หรือพิน ทำจากไม้และมีสายสี่สาย


ซึงใหญ่


คล้ายกีต้าร์หรือพิน ทำจากไม้ และมีสี่สาย


วิทยุเทป(เล็ก)


เป็นทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีหูหิ้วและมีเสาอากาศ สามารถเสียบไฟหรือใส่ถ่ายเป็นก้อนได้


ขลุ่ยเล็ก


เป็นท่อยาว มีรูเป่าและรูสำหรับใช้มือกด


สะล้อใหญ่


คันเป็นไม้ยาวมีกะลาข้างล่างเจาะรู มีสาย2 สาย