น้ำต้น

น้ำต้น เป็นภาชนะใส่น้ำศิลปะล้านนาชนิดหนึ่ง ซึ่งในอดีตมีการสืบทอดจากงานฝีมือของช่างชาวไทใหญ่ คนพื้นเมืองนิยมเรียกว่า “น้ำต้นเงี้ยว” เป็นภาชนะดินเผาแรงไฟต่ำ ลักษณะทรงเรียวสูงคล้ายขวดน้ำ ตัวน้ำต้นอ้วนกลม ขนาดปากเล็ก น้ำต้นทั่วไปมักจะมีสีแดงอิฐ ตกแต่งด้วยลวดลายกดประทับและขูดขีด ด้านการใช้สอย น้ำต้นจะใช้สำหรับใส่น้ำดื่มบนเรือนหรือใช้รับแขกเหรื่อที่เดินทางมาบ้าน และยังมีความเชื่อของคนในอดีตที่ว่าน้ำต้นเป็นของสูงจึงใช้สำหรับใส่น้ำในพิธีกรรมต่างๆ หรือกิจกรรมสำหรับผู้ที่มีเกียรติ เช่น ต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง ตั้งไว้บนหอผีเจ้าทรง หรือใช้ใส่น้ำเพื่อบวงสรวงเซ่นไหว้ผีในพิธีฟ้อนผี สำหรับน้ำต้นชิ้นนี้นางจันติ๊บ บัวมะลิได้มอบให้กับศูนย์การเรียนรู้ฯ

ขนาด

ขนาด : ส. 30 ซม. ก. 9 ซม. ศก. 4.5 ซม. / ลักษณะทางกายภาพ : มีลักษณะส่วนคอน้ำต้นเรียวยาว ส่วนตัวอ้วนกลม ฐานเล็ก ปากแคบแบะออก

ชื่อเจ้าของ

นางจันติ๊บ บัวมะลิ

ประวัติเจ้าของ

เสียชีวิตแล้ว

ประวัติวัตถุจัดแสดง

ใช้บรรจุน้ำไว้ใช้ดื่ม หรือเพื่อเป็นเครื่องประกอบพิธีกรรมของชาวไทลื้อ

แหล่งที่ได้มา/โอนย้าย

นางจันติ๊บ บัวมะลิ ได้มอบให้กับ นางพรรษา บัวมะลิ ผู้ดูแลศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาไทยไตลื้อ บ้านใบบุญ

ช่วงเวลาการสะสม

ประมาณ 100 ปี