กล้วยไม้ขาไก่

เข้าใจว่าคนไทยจะรู้จัก “ถ้ำเลย สเตโกดอน” จากการค้นพบซากดึกดำบรรพ์ของช้าง และ แรดสมัยไพลสโตซีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งช้าง สกุล สเตโกดอน จึงเป็นที่มาของชื่อถ้ำแห่งนี้ ถ้ำเล สเตโกดอน เป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวทางธรณีโลกสตูล ที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของอำเภอทุ่งหว้าจังหวัดสตูล ภายในถ้ำจะมีความเป็นเอกลักษณ์คือมีน้ำจืดและน้ำเค็มมาบรรจบพบกันตรงจุดปลายถ้ำ ภายในถ้ำสามารถเข้าชมได้โดยการล่องเรือคายัค สามารถท่องเที่ยวได้ทุกฤดูกาล โดยติดต่อจองเรือคายัคและฝีพายล่วงหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหว้าล่วงหน้า ในถ้ำมีความพิเศษของระบบนิเวศถ้ำน้ำมีสัตว์ที่เป็นชนิดใหม่ของโลกอยู่หลายชนิด ขณะที่ภายนอกถ้ำก็มีความหลากหลายทางชีวภาพเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกล้วยไม้ที่ขึ้นอยู่ตามธรรมชาติ อาทิกล้วยไม้ขาไก่ กล้วยไม้เขี้ยวงู (ภาษาถิ่น) เมื่อออกจากถ้ำไปแล้ว นักท่องเที่ยวจะต้องนั่งเรือหางยาวต่อเพื่อไปขึ้นฝั่งเป็นระยะทาง 4 กิโลเมตร ระหว่างทางเรือหางยาวนั้น จะได้มีโอกาสชมป่าชายเลน ทั้งโกงกางใบใหญ่ ใบเล็ก แสม ลำพู ที่ขึ้นอย่างหนาแน่น อยู่สองริมน้ำ นับเป็นการท่องเที่ยวที่ครบรส สัมผัสธรรมชาติแบบเต็มอิ่ม (อ้างอิง ; 1.https://rprp.hwt.co.th/Plants/1857 / 2.คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. “เดนโดรเบียม (Dendrobium).” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา https://web.agri.cmu.ac.th/hort/course/359405/1dendrobium.html (3 มิถุนายน 2560) / 3.Encyclopædia Britannica. 2017. “Dendrobium.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา https://www.britannica.com/plant/Dendrobium (14 กันยายน 2560))


ชื่อวิทยาศาสตร์ = Dendrobium sp.

ชื่อท้องถิ่น = กล้วยไม้ขาไก่

หมายเหตุ = เป็นกล้วยไม้ลูกผสม / ต้น : มีลำต้นเทียม (pseudobulb) หรือลำลูกกล้วย อยู่บนส่วนของลำต้นที่แท้จริง ลำต้นที่แท้จริงเป็นส่วนที่เรียกว่าเหง้า (rhizome) มีการเจริญเติบโตไปทางด้านข้าง (sympodial) / ราก : เป็นรากอากาศ เนื่องจากเป็นพวกที่เกาะอาศัยอยู่ตามต้นไม้หรือโขดหิน / ใบ : มีจำนวนได้ตั้งแต่ 1 ใบ จนกระทั่งจำนวนมากต่อต้น โดยส่วนใหญ่แล้ว ใบเป็นรูปไข่ เรียวยาว มีขนาดต่างๆกัน มีทั้งลักษณะใบแบน กลม ม้วนงอ หรือเป็นร่องลึกตรงกลาง ส่วนปลายเป็นรูปสามเหลี่ยม มีทั้งพวกที่มีการผลัดใบ หรือใบเขียวตลอดปี / ดอก : ช่อดอก มีช่อดอกทั้งแบบช่อสั้น หรือช่อยาว ช่อห้อยหรือตั้งตรง โดยทั่วไปแล้ว ช่อดอกเกิดจากส่วนข้างของลำต้นเทียมบริเวณข้อใกล้ส่วนยอด มีบางชนิดที่ช่อดอกเกิดจากส่วนปลายของลำต้นเทียม พวกที่มีการผลัดใบมีแนวโน้มในการสร้างช่อดอกจากส่วนของข้อที่อยู่บนลำต้นเทียม เป็นดอกเดี่ยวหรือเป็นกลุ่มดอกก็ได้ ในขณะที่พวกที่ไม่มีการผลัดใบ มีการสร้างช่อดอกบนส่วนของ ลำต้นเทียมที่อยู่ใต้บริเวณที่มีใบอยู่ ลักษณะเด่นอย่างหนึ่งของดอกกล้วยไม้สกุลหวายคือ มีส่วนของปาก (lip) เชื่อมต่อกับกลีบเลี้ยงคู่ข้างชั้นนอก (lateral sepals) ที่เรียกว่า เดือย (spur) || การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย : การกระจายตัวของกล้วยไม้สกุล Dendrobium พบได้ตั้งแต่เทือกเขาหิมาลัย อินเดีย จีน เกาหลี ญี่ปุ่น ประเทศในกลุ่มเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ไปจนถึงนิวกีนี และ ออสเตรเลีย ทางด้านควีนส์แลนด์ ฝั่งตะวันออกของออสเตรเลีย ไปจนถึงนิวซีแลนด์ และตาฮิติ || ถิ่นอาศัย : กล้วยไม้สกุล Dendrobium มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนในแถบเอเชีย หมู่เกาะแปซิฟิก และออสเตรเลีย || สรรพคุณ/การใช้ประโยชน์ : ปลูกเป็นไม้ประดับ