บอนดำสตูล

บอนดำเรียกได้ว่าเป็นพืชไฮไลท์ของสตูลจีโอปาร์คก็ว่าได้ ระหว่างทางเดินศึกษาธรรมชาติน้ำตกธารปลิวเราจะสามารถพบเจอกับบอนดำสตูลแทบจะตลอดเส้นทาง พี่จ้อยเล่าให้เราฟังว่าเมื่อก่อนบอนดำสตูล เป็นพืชที่มีจำนวนมากกว่าปัจจุบันหลายเท่า ต่อมามีความนิยมในการนำบอนดำมาปลูกเป็นไม้ประดับและเป็นบอนที่มีเอกลักษณะเฉพาะตัว คือใบของบอนดำจะมีสีดำและเส้นใบขาว บอนดำสตูลมีราคาที่ค่อนข้างสูงชาวบ้านจึงพากันเข้าป่าไปลักลอบเอาออกมาเพื่อขายเป็นจำนวนมาก แต่หากเพื่อนๆได้ไปเที่ยวน้ำตกธารปลิวก็อย่าเอาเจ้าบอนดำกลับบ้านไปล่ะ ให้เขาได้อยู่และสวยงามตามธรรมชาติของเขา ชาวบ้านนิยมเรียกกันว่า แก้วหน้าม้า เมื่อมองทางด้านหน้าตรง จะมีลักษณะรูปสามเหลี่ยมยาว มีหูสองข้างคล้ายหน้าม้านั่นเอง หรือชื่อที่ทุกคนรู้จักกันอย่างชินหูคือ บอนดำสตูล สามารถพบเจอได้ในพื้นที่ภูเขาหินปูนที่อุดมสมบูรณ์ ในจังหวัดสตูล มีลักษณะใบเขียวสด มีความนูนและใบแข็ง ประดับด้วยเส้นใบสีขาวและสีชมพู แต่สีชมพูมักจะหายากกว่าสีขาว เนื่องจากสีชมพูอาจเกิดความผิดเพี้ยนของพันธุกรรม


ชื่อวิทยาศาสตร์ = Colocasia esculenta (L.) Schott

หมายเหตุ = ต้นบอนดำ อยู่ในสกุลเดียวกับบอนหรือเผือกในสกุล Colocasia จึงมีลักษณะทั่วไปดูคล้ายๆ กับต้นบอนหรือเผือก แต่มีความแตกต่างที่ แผ่นใบสีน้ำตาลแดงเข้มจนเกือบสีดำ ต้นไม้ที่มีใบสีดำ ใบของบอนดำจะมีสีดำเข้มสวยงามสะดุดตา สมดั่งชื่อ แบล็ค เมจิก 'Black Magic' หรือ มนต์ดำ ใบรูปไข่แกมหัวใจ ปลายใบแหลมและปลายใบมักห้อยย้อยลง โคนใบเว้าลึก มีก้านใบยาวและก้านใบติดกับแผ่นใบทางด้านล่าง โคนก้านใบแผ่กว้างหุ้มประกบกัน ก้านใบและก้านดอกเป็นสีเดียวกับแผ่นใบ

สถานที่เก็บตัวอย่าง/แหล่งอาศัย/ถิ่นที่อยู่ = ชายฝั่ง