ย่านปด

ต้น ไม้ยืนต้นขนาดกลาง เนื้อไม้แข็ง ไม่ผลัดใบ เป็นไม้เถามีเนื้อแข็ง เลื้อยได้ไกล 5 ถึง 8 เมตร กิ่งอ่อนมีขนขุยสีน้ำตาลแก่ แตกกิ่งเลื้อยทอดยาว เมื่ออ่อน เปลือกเถามีสีเขียว เมื่อแก่จะมีสีน้ำตาลเทา เปลือกบางเรียบ ใบ ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกัน ถึงรูปขอบขนาน กว้าง 3 ถึง 5 เซนติเมตร และยาว 6 ถึง 10 เซนติเมตร ที่โคนใบกับปลายใบมนถึงแหลม โคนใบเรียว ปลายใบโต ขอบใบเป็นจักห่าง เนื้อใบค่อนข้างหนา สีเขียวเข้ม เส้นใบชัดคล้ายลิ้นวัว ผิวใบด้านบนพบเป็นเส้นแขนง ใบเป็นร่อง ส่วนผิวใต้ท้องใบสากคาย หลังใบสีเขียวเข้ม ก้านใบยาวประมาณ 0.6 ถึง 1 เซนติเมตร ดอก ช่อดอกแบบแยกแขนง ออกตามซอกใบหรือปลายยอด ช่อดอกมีความยาว 10 ถึง 15 เซนติเมตร มีเส้นผ่านศูนย์กลางของดอกเมื่อบานที่ราว 0.8 เซนติเมตร ดอกย่อยมีจำนวนมาก ลักษณะทรงกลม สีขาว มี 5 กลีบ มักหลุดร่วงง่าย ดอกส่งกลิ่นหอม มักบานไม่พร้อมกัน เมื่อบานจะมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 เซนติเมตร พบเกสรเพศผู้สีขาวจำนวนมากคล้ายเส้นด้ายกระจายออกเป็นพุ่มกลม และมีกลีบเลี้ยงอยู่ 5 กลีบ ผล ผลรูปไข่เบี้ยว สีเขียว ขนาดประมาณ 0.7 เซนติเมตร พบจะงอยที่ส่วนปลาย เมื่อแก่จะแตกออกเป็นแนวเดียว ภายในมีเมล็ดสีดำ 1 ถึง 2 เมล็ด สรรพคุณและการใช้ประโยชน์ ดอก มีรสหอมขม ใช้เข้าเครื่องยาหอม บำรุงหัวใจ แก้ลมวิงเวียน แก้อ่อนเพลีย สามารถปรุงเป็นยาหอมใช้คู่กับเถาอรคนธ์หรือรสสุคนธ์แดง ใบ ช่วยรักษาโรคหิด นำมาต้มกับน้ำดื่มแก้อาการสะอึก ใบหรือราก น้ำต้มนำมาอมช่วยแก้แผลในปาก ใช้เป็นยาแก้อาการตกเลือดภายในปอด และสามารถนำมาตำใช้พอกเป็นยาแก้ผดผื่นคันได้ ลำต้นและรากใช้ต้มกับน้ำดื่ม ช่วยแก้ฝี แก้บวม น้ำเลี้ยงจากต้น เมื่อผสมกับต้นหอมใช้รักษาฝีหนองได้ ประโยชน์อื่น ๆ ของย่านปด นำมาปลูกไว้เป็นไม้ดอกไม้ประดับที่ให้ความสวยงามและส่งกลิ่นหอม และเป็นไม้มงคล เถานำมาใช้ทำเป็นเชือกมัดหลังคาหรือมัดไม้ก่อสร้าง เถาขนาดใหญ่สนำมาทำเป็นชิงช้าให้เด็ก ใบแก่สามารถนำมารูดปลาไหล เพื่อให้เมือกในตัวปลาไหลหลุดออกเนื่องจากใบมีความสาก ไม้จากต้นหรือเถาใช้ทำเครื่องจักสานและเครื่องใช้สอยต่าง ๆ ได้


ชื่อวิทยาศาสตร์ = Tetracera loureiri Pierre.

สถานที่เก็บตัวอย่าง/แหล่งอาศัย/ถิ่นที่อยู่ = ชายฝั่ง