โกงกางหูช้าง / Beach Gardenia, Sea Randia, Tafano, Zebra wood

โกงกาง เป็นไม้พุ่มหรือไม้ต้น สูงได้ถึง 10 เมตร เป็นไม้ผลัดใบ แยกเพศต่างต้น หรือแกมสมบูรณ์เพศ แตกกิ่งต่ำ ต้นแก่มีรอยแยกเป็นรอยตื้นๆ ตามความยาวของลำต้น เปลือกของกิ่งอ่อนล่อนออกได้ ใบ ใบเรียงตรงข้าม รูปไข่กลับกว้างเกือบกลม ยาว 10–25 เซนติเมตร ใบเรียบ โคนใบกลมหรือเว้าตื้น แผ่นใบหนา มีขนกระจายด้านล่าง สีเขียวเข้ม ด้านหลังใบสีจางกว่า ก้านใบยาว 1.5–4 เซนติเมตร หูใบรูปสามเหลี่ยม ยาวได้ถึง 1 เซนติเมตร ดอก ช่อดอกแบบช่อกระจุกแยกแขนงเป็นวงแถวคู่ ก้านยาว 5–10 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงขนาดเล็กไม่ชัดเจน ดอกรูปดอกเข็ม สีขาว กลีบหลอดยาว 1.5–3 เซนติเมตร มี 6–9 กลีบ เรียงซ้อนเหลื่อม รูปรี ยาว 4–8 มิลลิเมตร ด้านนอกมีขนกำมะหยี่ ปากหลอดมีขนยาว เกสรเพศผู้ 6–9 อัน ไร้ก้านติดใกล้ปากหลอด รังไข่มี 4–9 ช่อง แต่ละช่องมีออวุล 1 เม็ด ก้านเกสรเพศเมียรูปเส้นด้าย ยาวเท่า ๆ หลอดกลีบดอก ยอดเกสรเป็นตุ่ม ผล ผลเดี่ยว ทรงกลม ผนังชั้นในแข็งเป็นใย เส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5–2.5 เซนติเมตร ก้านยาว 3.5–10 เซนติเมตร มีหลายเมล็ด ผลอ่อนสีเขียวมีจุดเข้มกระจายทั่วไป สรรพคุณและการใช้ประโยชน์ของโกงกางหูช้าง เปลือก เป็นยาสมาน ลดกรด แก้ไข้ แก้โรคลมชัก และสามารถปลูกเป็นไม้ประดับได้


ชื่อวิทยาศาสตร์ = Guettarda speciosa L.

ชื่อท้องถิ่น = โกงกางหูช้าง

สถานที่เก็บตัวอย่าง/แหล่งอาศัย/ถิ่นที่อยู่ = ชายฝั่ง