ตะบูนขาว

ต้น ไม้ต้นขนาดเล็กถึงกลาง สูง 10-15 เมตร ผลัดใบแต่ผลิใบใหม่เร็ว เรือนยอดแผ่กว้าง รูปทรงไม่แน่นอน ลำต้นมักคดงอ โคนต้นเป็นพูพอน เปลือกสีเทา เทาอมขาว น้ำตาลแดง แตกล่อนเป็นแผ่นบางคล้ายผิวตะแบก ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ปลายคู่ เรียงสลับ ใบย่อยเรียงตรงข้าม มี 2 คู่ รูปไข่กลับ กว้าง 4.5-5 เซนติเมตร ยาว 6-12 เซนติเมตร ปลายใบมน โคนใบสอบเรียว แผ่นใบหนาและเปราะ ขอบใบโค้งลงและเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบสีเขียวอ่อน ผิวใบเป็นมัน เส้นแขนงใบข้างละ 6-9 เส้น ก้านใบสีน้ำตาลสั้น 3-5 มิลลิเมตร ดอก ออกดอกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนงตามซอกใบ มีสีขาวอมเหลือง มีกลิ่นหอมยามบ่ายถึงค่ำ กลีบเลี้ยงรูปสามสามเหลี่ยมสั้น 4 กลีบ กลีบดอก 4 กลีบ ดอกบานเต็มที่กว้าง 1-1.2 เซสติเมตร ออกดอกในช่วงเดือนมีนาคม-เดือนเมษายน ผล แห้งแตก ทรงกลมแข็ง ผลสีน้ำตาลอมเขียว เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ขนาด 15-20 เซนติเมตร ก้านผลยาว 3-5 เซนติเมตร หนัก 1-2 กิโลกรัม มีร่องตามยาวตามผล 4 แนว มีเมล็ด รูปร่างเหลี่ยมโค้งปลายแบบประสานเข้าเป็นรูปทรงกลม กว้าง 6-10 เซนติเมตร มีจำนวน 4-17 เมล็ด ติดผลในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ สรรพคุณของตะบูนขาว เปลือก ใช้บำรุงร่างกาย แก้ไอ แก้ท้องร่วง เมล็ด แก้ไอ แก้บิด ใช้ล้างแผล ผล แก้อหิวาต์ การใช้ประโยชน์ของตะบูนขาว เปลือกนำมาใช้ย้อมผ้าและเนื้อไม้มีสีขาวนำมาใช้ทำเฟอร์นิเจอร์


ชื่อวิทยาศาสตร์ = Xylocarpus granatum Koenig

ชื่อท้องถิ่น = เยเละ

สถานที่เก็บตัวอย่าง/แหล่งอาศัย/ถิ่นที่อยู่ = ชายฝั่ง