ข่อยหนาม

ข่อยหนาม เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ไม่มียาง สูงประมาณ 10 เมตร ลำต้นมีเปลือกสีเทา ค่อนข้างขาว โคนตั้งตรง เหนียว ส่วนบนคงงอเป็นปุ่มปมเล็กน้อย และมีร่องเล็กน้อย มีใบแบบใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ ริมขอบใบเป็นจักร ตามกิ่งมีหนามแหลม ดอกเป็นช่อดอกเล็ก สีขาวและเหลือง ผลกลมขนาดเท่าหัวเข็มหมุด เรียบ ผลอ่อนมีสีขาวหรือเทา เปลือกข้างในมียางสีขาว เมื่อสุกผลมีสีเหลือง ข่อยหนาม สามารถนำมาใช้ประโยชน์ ดังนี้ 1) เนื้อไม้และยา นำมาปรุงเป็นยาขับปัสสาวะและเมือกในลำไส้ รักษาไตพิการ โรคกษัย 2) ใบ เมื่อนำมาตำกับข้าวสาร แล้วคั้นเอาน้ำดื่มทำให้อาจารถอนพิษมื่อมีอาการเมาหรืออาหารแสลง


ชื่อวิทยาศาสตร์ = Streblus ilicifolius (S. Vidal) Corner

ชื่อท้องถิ่น = ข่อยหิน เฮาสะท้อน เฮาะสะต้อน (เชียงใหม่) หัสสะท้อน (เชียงราย) ข่อยนั่ง (ลำปาง) ชาป่า (จันทบุรี) ข่อยป่า (ตราด) คันทรง คันเพชร (สุราษธานี) ข่อยหยอง ผักกรูด (ประจวบคีรีขันธ์) หัสสะท้อน (ตะวันออกเฉียงเหนือ) กะชึ่ม ข่อยเตี้ย

สถานที่เก็บตัวอย่าง/แหล่งอาศัย/ถิ่นที่อยู่ = ชายฝั่ง

จังหวัด = สตูล

อำเภอ = ละงู