ค้อนตีหมา

เป็นไม้เถาเลื้อยเนื้อแข็งขนาดใหญ่ ลำต้นขึ้นใหม่เป็นพุ่ม ขึ้นได้ในที่ราบสูงทั่วไป ชอบแสงแดดรำไร พบขึ้นทั่วไปตามป่าดงดิบ ป่าดิบแล้ง และป่าดิบชื้น ใบอ่อนหรือยอดอ่อนใช้รับประทานเป็นผักสดจิ้มกับน้ำพริกรวมกับผักอื่น ๆ โดยจะมีรสฝาดมัน ส่วนเถาใช้ทำเครื่องจักสานและเครื่องใช้สอย สรรพคุณเป็นยาสมุนไพร แก้โรคกษัย ไตพิการ ไข้ป่า โรคบิด ยาขับพยาธิ เป็นยาแก้ปวดเมื่อย ขึ้นอยู่กับส่วนประกอบที่นำมาปรุง Ancistrocladus tectorius is a large hardy vine which can also form bushes. The plant is commonly found in plateaus with sufficient shade and is typically found in both dry and humid evergreen forests. Young leaves and shoots, have a bitter and nutty flavor, can be eaten as fresh vegetables dipped in chili paste. A. tectorius vines can be used for wickerwork and crafting utensils. Different parts of the vine can also be used as folk medicine for aging/wasting disease, kidney diseases, fever, dysentery, anthelmintic and analgesic effects.


ชื่อวิทยาศาสตร์ = Ancistrocladus tectorius (Lour.) Merr.

ชื่อท้องถิ่น = ไม้ค้อนตีหมา เถาลิ้นกวาง ค้อนหมาขาว (ภาคกลาง) มหางกวาง (นครพนม) ลิ้นควาย (ลำปาง) ค้อนหมาแดง (นครราชสีมา) โคนมะเด็น (สุพรรณบุรี) หูกลวง (ปราจีนบุรี ตราด) คันทรง ทองคันทรง (ชลบุรี) กระม้า (เขมร-สระบุรี) ค้อนตีหมา (ยะลา) พันทรง (นราธิวาส) ยูลง ลิดาซาปี (มลายู-ภาคใต้ กะม้า ขุนนา (เขมร) ขุนม้า ขุนมา (เขมร-สุรินทร์) ซินตะโกพลี (กะเหรี่ยง-ลำปาง) เป็นต้น

สถานที่เก็บตัวอย่าง/แหล่งอาศัย/ถิ่นที่อยู่ = ชายฝั่ง

จังหวัด = สตูล