ตะแบก

ต้น ตะแบกเป็นไม้ยืนต้นกึ่งผลัดใบขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงได้ประมาณ 15-35 เมตร เรือนยอดเป็นรูปเจดีย์ต่ำ ๆ แตกกิ่งรอบต้น เปลือกลำต้นเป็นสีเทาอมเหลือง หรือสีน้ำตาลอมเทา ผิวเกลี้ยงแต่ มีรอยขรุขระเป็นหลุมตื้น ๆ เกิดจากสะเก็ดแผ่นบาง ๆ ของเปลือกที่หลุดร่วงไป และมีจุดด่างขาว ๆ อยู่ตามลำต้น ทางตอนบนของลำต้นจะค่อนข้างเรียบ ส่วนเปลือกชั้นในเป็นสีชมพูอมม่วง ซ้อนกันเป็นชั้น ๆ สลับกับชั้นลายเส้นสีขาว โคนต้นเป็นพูพอนชัดเจน ตรงส่วนที่เป็นพูพอนมักจะกลวงขึ้นไปประมาณ 3-5 เมตรจากผิวดิน ตามกิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาลสาก ๆ ใบ ใบตะแบกเป็นใบเดี่ยว ใบเป็นรูปไข่หรือรูปขอบขนานแกมรูปหอก ออกตามง่าม ออกเรียงสลับกัน บางทีออกเรียงเกือบตรงข้าม ใบมีขนาดเล็กกว่าใบอินทนิลน้ำกว้างประมาณ 3-6 เซนติเมตร และยาวประมาณ 7-14 เซนติเมตร ปลายใบทู่ โคนใบทู่หรือกลม แผ่นใบเป็นสีเขียว หลังใบเกลี้ยงหรือเกือบเกลี้ยง ส่วนท้องใบมีขนสีน้ำตาลสาก ๆ ขึ้นหนาแน่น ตะแบกเป็นไม้กึ่งผลัดใบ ซึ่งจะผลัดใบหรือไม่ผลัดใบก็ได้ ดอก ตะแบกออกดอกเป็นช่อ แต่ละช่อมีกลุ่มย่อย ช่อดอกจะออกตามปลายกิ่ง มีขนสาก ๆ ขนาดดอกเล็ก ดอกมีกลีบดอก 6 กลีบ แยกจากกันเป็นอิสระเห็นได้ชัดเจน เลี้ยง โคนกลีบดอกแคบ ส่วนปลายกลีบจะเป็นแผ่นกลม ๆ สีขาวหรือสีม่วงอมชมพูอ่อน ๆ ส่วนกลีบเลี้ยงมี 6 กลีบ โคนกลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย ปลายแยกออกเป็น 6 แฉก (เรียกว่า "ถ้วยกลีบเลี้ยง") มีขนสีสนิมขึ้นปกคลุม ดอกมีเกสรเพศผู้จำนวนมาก ขนาดไล่เลี่ยกัน เมื่อบานเต็มที่จะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.5-1.5 ส่วนกลีบเลี้ยงมี 6 กลีบ ผล ผลตะแบกมีขนาดเล็ก เป็นรูปไข่ ยาวประมาณ 0.8-1 เซนติเมตร ผลแก่เป็นสีน้ำตาล แข็ง เมื่อแก่จะแตกออกเป็น 6 แฉก ถ้วยกลีบเลี้ยงจะหุ้มโคนของผลเช่นเดียวกับอินทนิลน้ำและอินทนิลบก ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก มีปีก เมล็ดเป็นสีน้ำตาลเข้ม


ชื่อวิทยาศาสตร์ = Lagerstroemia calyculata Kurz.

ชื่อท้องถิ่น = เปื๋อย, เกรียม,เสลา, อินทนิล

สถานที่เก็บตัวอย่าง/แหล่งอาศัย/ถิ่นที่อยู่ = ชายฝั่ง

จังหวัด = สตูล