ปออีเก้ง / Taluto

ต้น เป็นไม้ต้นผลัดใบขนาดใหญ่ มีความสูง 20-30 เมตร ลำต้นตรง มีเปลือกหนา 3-5 เซนติเมตร เปลือกด้านนอกมีสีน้ำตาลเทา เปลือกเรียบหรือมีตุ่มกระจายทั่ว เปลือกด้านในสีน้ำตาลแดงสลับขาว ใบ ใบเดี่ยว เรียงเวียน ใบรูปไข่หรือรูปหัวใจ กว้าง 5-8 เซนติเมตร ยาว 10-15 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลม โคนใบรูปลิ่มหรือมนหรือรูปหัวใจ ขอบใบเว้าเป็นลอนหรือคลื่น ดอก เป็นช่อดอกแบบแยกแขนง ออกดอกตามกิ่งหรือปลายกิ่ง มีสีเขียวอ่อน มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ รูประฆัง ปลายกลีบแยกเป็น 5 แฉก ยาว 2 เซนติเมตร ไม่มีกลีบดอก แกนเกสรเพศผู้มีขนสีขาวที่ฐาน ผล ผลสีเทาดำ ยาว 5-6 เซนติเมตร มี 3-5 ผลต่อก้าน มีเปลือกบางคล้ายกระดาษหุ้มเมล็ด


ชื่อวิทยาศาสตร์ = Pterocymbium tinctorium (Blanco) Merr.

ชื่อท้องถิ่น = ปอขี้ลิ้น (หนองคาย) ปอขี้เลียด (เชียงใหม่ สระบุรี) ปอขี้แฮด (เชียงใหม่ เหนือ) กะพงใหญ่ (ระยอง) กุลูกะแปงบูกง (มลายู ปัตตานี) คางฮุ่ง (พิษณุโลก) คำโรง (มลายู ปัตตานี) บอนครั่ง (ระนอง) ปง (สุราษฎร์ธานี) ปอกระด้าง (ภาคเหนือ) ปอขี้ไก่ (สุโขทัย) ปอขี้แตก

สถานที่เก็บตัวอย่าง/แหล่งอาศัย/ถิ่นที่อยู่ = ชายฝั่ง

จังหวัด = สตูล