บุกคางคก / Elephant foot yam

เป็นไม้ล้มลุก เจริญเติบโตในฤดูฝนและพักตัวในฤดูหนาว มีหัวใต้ดินขนาดใหญ่ สีน้ำตาล มีอายุอยู่ได้นานหลายปี ลำต้นกลม อวบน้ำ ไม่มีแก่น ผิวขรุขระ มีลายสีเขียวสีแดง เป็นใบเดี่ยว แผ่ออกคล้ายกางร่มแล้วหยักเว้าเข้าหาเส้นกลางใบ ขอบใบเว้าลึก ออกดอกเป็นช่อแทงขึ้นมาจากหัวใต้ดิน เป็นแท่งมีลายสีเขียวหรือสีแดงแกมสีน้ำตาลแล้วแต่พันธุ์ หัวบุกมีลักษณะค่อนข้างกลม สีเหลืองอมชมพูหรือขาวเหลือง เนื้อในหัวสีชมพูสด ลำต้นใช้ใส่แกงเป็นอาหารได้ สรรพคุณทางยาคือ หัวมีรสเบื่อเมา นำหัวมาต้มแก้โรคตับ โรคท้องมาน แก้ท้องผูก ช่วยกัดเสมหะ แก้ไอ แก้เลือดจับเป็นก้อน ใส่บาดแผล กัดฝ้าและกัดหนองดี เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานหรือผู้ป่วยระหว่างพักฟื้น เป็นอาหารดูดสารพิษ ขจัดไขมันในเลือดและนำมาปรุงอาหารเพื่อสุขภาพ Elephant foot yam is a herbaceous which typically thrives in the rainy season and becomes dormant in winter. The plant has a large, brown, underground tuber that sustains the plant for many years. The elephant foot yam has rough stems with red-green stripes that are round, succulent, without a woody core. The plant is a monocotyledon with single leaves, spreading out like umbrellas. The leaf edge is wavy and is deeply concave towards the middle veins. The plant’s tube-shaped flowers, either green or reddish-brown, protrude from the underground tuber. The plant’s tuber is used in folk remedies for reducing phlegm, anticoagulant, disinfectant for wounds, reducing facial blemish and pus. For diabetics, the plant’s tuber can be used as a healthy supplement to help with patient recovery by helping detoxification, reduce lipids in the blood. Boiled elephant foot yam tuber is used as a folk remedy for liver diseases, expectorant, and cough suppressant.


ชื่อวิทยาศาสตร์ = Amorphophallus paeoniifolius (Dennst.) Nicolson

ชื่อท้องถิ่น = บุกคางคก มันซูรัน (กลาง) บุกคุงคก (ชลบุรี) เบีย เบือ บุกหนาม บุกหลวง (แม่ฮ่องสอน) หัวบุก (ปัตตานี) บักกะเดื่อ(สกลนคร) กระบุก(บุรีรัมย์) บุกรอ หัววุ้น

สถานที่เก็บตัวอย่าง/แหล่งอาศัย/ถิ่นที่อยู่ = ชายฝั่ง

จังหวัด = สตูล