ระกำ / Rakam, Kumbar, Salak Rengam

เป็นต้นหรือเหง้าเตี้ย มียอดแตกเป็นกอ ออกผลรวมกันเป็นกระจุกแบบทะลาย เปลือกของผลจะมีหนามแข็งเล็กขนาดเล็ก ผลดิบมีรสฝาดและเปรี้ยว ส่วนผลสุกจะมีรสเปรี้ยวอมหวาน เนื้ออ่อนและน้อย ฉ่ำน้ำ มีกลิ่นหอม สำหรับคนไทยโบราณแล้วจะไม่นิยมปลูกต้นระกำไว้ในบ้าน เพราะไม่เป็นมงคล สาเหตุมาจากชื่อที่ไม่เป็นมงคล และเชื่อว่าหากปลูกต้นระกำไว้ในบ้านจะทำให้ผู้อยู่อาศัยได้รับความชอกช้ำระกำใจอยู่ตลอดเวลา ระกำป่า มีรสเปรี้ยว นำมาประกอบอาหารเช่นน้ำพริก ลูกระกำป่า จะช่วยดับกลิ่นปลาได้ดี สรรพคุณทางยาคือช่วยทำให้เจริญอาหาร บรรเทาอาการกระหายน้ำ เป็นยาแก้ไอ ขับเสมหะ รักษากำเดา ช่วยในการย่อยอาหาร Rakam is a short tree with rhizomes which bears fruits in clusters. The peel of the fruit has small hard thorns. The raw fruit has a bitter and sour taste. The ripe fruit’s flesh is soft, juicy and fragrant. The ripe fruit is popular for its sweet and sour taste. For superstitious Thai people, rakam tree is considered unlucky (rakam means suffering in Thai) and should not be planted in the household. Wild rakam fruit has a sour taste and can be used to make traditional chili paste, eliminating the fishy smell. As a folk remedy, the rakum fruit is used to enhance appetite and digestion, reduce dehydration, cough suppressant, reduce phlegm and nose bleeds.


ชื่อวิทยาศาสตร์ = Salacca wallichiana Mart.

ชื่อท้องถิ่น = ระกำป่า เจาะละก่า (ตราด) ระกำ (ทั่วไป)

สถานที่เก็บตัวอย่าง/แหล่งอาศัย/ถิ่นที่อยู่ = ชายฝั่ง

จังหวัด = สตูล