มะพลับ/ไม้ดำ

ต้นมะพลับเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นเปลาตรง มีความสูงของต้นประมาณ 8-15 เมตร ทรงพุ่มกลมทึบ เปลือกต้นเรียบเป็นสีเทาปนดำ หรือบางทีแตกเป็นร่องเล็ก ๆ ตามยาว ส่วนเนื้อไม้เป็นสีขาว ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุย มีน้ำและความชื้นปานกลาง และชอบแสงแดดจัด มะพลับเป็นไม้ป่าดงดิบ พบขึ้นในป่าที่ลุ่มต่ำบริเวณกันชนระหว่างป่าบกและป่าชายเลน ชายป่าพรุ บริเวณชายคลอง ป่าดิบใกล้แหล่งน้ำ ป่าละเมาะริมทะเล และตามเรือกสวนทั่วไป ทางภาคใต้ของประเทศไทย ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปขอบขนานหรือรูปขอบขนานแกมรูปหอกกลับ ปลายใบแหลมทู่ โคนใบมน ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2.5-8 เซนติเมตรและยาวประมาณ 10-30 เซนติเมตร เนื้อใบหนา หลังใบเรียบเป็นมัน ส่วนท้องใบเรียบแต่มีสีอ่อนกว่า ดอกมะพลับ ดอกเป็นแบบแยกเพศและอยู่กันคนละต้น ดอกเพศผู้จะออกดอกเป็นช่อสั้น ๆ โดยจะออกตามซอกใบ ก้านดอกยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร และมีขนอยู่หนาแน่น มีกลีบดอก 4-5 กลีบ ยาวประมาณ 7-15 มิลลิเมตร ส่วนดอกเพศเมียจะออกดอกเดี่ยว สีเหลือง ก้านดอกยาวประมาณ 5-10 มิลลิเมตร และมีขนคลุมแน่น ที่โคนเชื่อมติดกัน ส่วนปลายแยกเป็นแฉกแบบตื้น ๆ เปลือกต้นมีรสฝาดใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาบำรุงธาตุ ใช้เปลือกต้นนำมาต้มกับน้ำดื่มช่วยทำให้เจริญอาหาร เปลือกต้นเป็นยาลดไข้ เปลือกและผลอ่อนใช้เป็นยาแก้ไข้มาลาเรีย เปลือกและผลแก่มีรสฝาดหวาน ใช้เป็นยารักษาแผลในปาก แก้คออักเสบ ด้วยการใช้เปลือกและผลแก่นำมาต้มเป็นยาอม กลั้วคอ ช่วยขับผายลม เปลือกต้นใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้บิด แก้ท้องร่วง เปลือกต้นนำมาย่างให้กรอบชงกับน้ำดื่ม เป็นยาแก้กามตายด้าน แก้ความกำหนัด บำรุงความกำหนัด เปลือกต้นใช้เป็นยาทาสมานบาดแผลและช่วยห้ามเลือด


ชื่อวิทยาศาสตร์ = Diospyros sp.

ชื่อท้องถิ่น = ไม้ดำ

สถานที่เก็บตัวอย่าง/แหล่งอาศัย/ถิ่นที่อยู่ = ชายฝั่ง

จังหวัด = สตูล