ปทุมมาถิ่นใต้

พืชหัว อายุหลายปี อยู่ในกลุ่มเดียวกับปทุมมา ที่พบที่จังหวัดชัยภูมิ แต่ชนิดนี้เป็นพืชเฉพาะถิ่น พบที่เดียวในโลก ที่จังหวัดสตูล ออกดอกช่วงเดือนมิถุนายน ถึงเดือนกรกฎาคม และเป็นพืชชนิดใหม่ของโลก ตั้งชื่อในปี ค.ศ. 2020 มีลักษณะที่สังเกตได้ง่าย คือ มีดอกคล้ายดอกถั่ว สีม่วงอ่อน ที่กลีบปากมีแต้มสีแดงเข้มและสีเหลือง ที่มีใบประดับสีเขียวที่มีลายสีเขียวอ่อนรองรับ ชื่อระบุชนิดที่เป็นชื่อวิทยาศาสตร์ “papilionacea” หมายถึง ลักษณะเหมือนผีเสื้อ (เช่นเดียวกับดอกถั่ว) ชื่อท้องถิ่น มีความหมายว่า พบเฉพาะในภาคใต้ ปทุมมาถิ่นใต้ ยังไม่มีรายงานการใช้ประโยชน์ทางภูมิปัญญาท้องถิ่น มีเพียงการนำหัวออกมาขายเพื่อเป็นไม้ประดับ และเป็นพืชที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ไปจากธรรมชาติ


ชื่อวิทยาศาสตร์ = Curcuma papilionacea Soonthornk., Ongsakul & Škorničk.