มะพลับทอง

ใบ เดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่แกมขอบขนาน ฐานใบมน ปลายใบแหลม เนื้อใบหนา เกลี้ยง ดอก แยกเพศ มักออกเดี่ยว หรือเป็นช่อสั้นๆ ตามกิ่งและตามง่ามใบ ดอกเพศผู้ และดอกเพศเมียอาจอยู่ต้นเดียวกัน หรืออยู่ต่างต้นกันก็ได้ ดอกเป็นหลอดยาวโคนกลีบเชื่อมติดกัน ปลายแยกจากกัน กลีบรองดอก 4-5 กลีบ กลีบดอกมีจำนวนเท่ากับกลีบรองดอก ขอบกลีบเรียงเกยซ้อนกันคล้ายกังหันลม / ดอกเพศผู้ เป็นช่อ เป็นหลอดยาวกว่าเพศเมีย กว้างประมาณ 0.5-1.0 เซนติเมตร ยาวประมาณ 1.5-2.0 เซนติเมตร เกสรเพศผู้มี 6 อัน ขึ้นไป / ดอกเพศเมีย เป็นดอกเดี่ยว กว้างประมาณ 1.0 เซนติเมตร ยาวประมาณ 1.0-1.5 เซนติเมตร รังไข่อยู่เหนือโคนกลีบรองดอก มี 2-12 ช่อง แต่ละช่องมีไข่อ่อน 1-2 หน่วย ก้านชูเกสรเพศเมีย 1-6 อัน / ผล เป็นชนิดสดและอุ้มน้ำ เกลี้ยง ทรงกลมแบน ขั้วผลมีฝาหรือกลีบเลี้ยงคล้ายหมวก ซึ่งพัฒนามาจากกลีบรองดอก มีขนาดผลประมาณ 3.0-4.0 เซนติเมตร ออกดอกประมาณเดือนพฤศจิกายน ผลสุกแก่ประมาณเดือนมีนาคม-เมษายน การใช้ประโยชน์ : ฤทธิ์ทางสมุนไพร สำหรับสาวดำนี้ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่ไม้ในวงศ์มะเกลือส่วนใหญ่ ผลดิบจะมีสรรพคุณเป็นยา เช่นมะเกลือ มะพลับ หรือตะโก นอกจากนั้น นำไปทำสีย้อมแห อวน ได้อีกด้วย ซึ่งผู้เขียนจะนำไปวิจัยต่อไปในเรื่องของสีย้อมธรรมชาติ


ชื่อวิทยาศาสตร์ = Diospyros sp.

ชื่อท้องถิ่น = ไม้สาวดำ ไม้ขาวดำ

สถานที่ = อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา

จังหวัด = สตูล

อำเภอ = ละงู

ตำบล = ปากน้ำ