ตำแบไล้

ไม้ยืนต้น มีพูพอนเล็ก เปลือกสีตคราม แตกเป็นแผ่น ใบประกอบขนนก ดอกเป็นกระจุกใกล้ปลายกิ่ง ใบอ่อนสีชมพูถึงส้ม มีขนสั้น ใบแก่คล้ายกระดาษหนัง เกลี้ยงหรือมัขนเล็กน้อย ดอกเล็กสีขาวสมบูณณ์เพศ ผลเรียว คำว่า "ตำแบไล้" มีชื่อมาจากคำในภาษาท้องถิ่นของภาคใต้ ที่แปลว่า "ตะแบกไอ้ไหร หรือ ตะแบกอะไร" จากลักษณะเปลือกต้นที่มีสีขาว เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ เปลือกมีสีขาว ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ ขอบเรียบ ใบย่อยมักพบขนต่อมบริเวณซอกของเส้นใบย่อย ใบในระยะต้นกล้าจักฟันเลื่อย พบกระจายตามป่าดิบชื้น เขาหินปูนภาคใต้ตอนล่างของไทย พบตั้งแต่ อุทยานแห่งชาติทะเลบัน หมู่เกาะเภตรา ไปจนถึงเกาะลังกาวี ของประเทศมาเลเซีย (ที่มา ; Flora of Thailand Vol.10(3):312)


ชื่อวิทยาศาสตร์ = Pentaspadon curtisii (King) Corner

ชื่อท้องถิ่น = ตะแบกไอ้โหร

สถานที่ = อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา

จังหวัด = สตูล

อำเภอ = ละงู

ตำบล = ปากน้ำ