พลับเขา

ต้น: ไม้ต้นขนาดกลาง สูงได้ถึง 20 เมตร / ใบ: ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนาน หรือรูปใบหอก ปลายทู่ หรือหยักคอดเป็นติ่งแหลม โคนสอบมน แผ่นใบหนา หรือค่อนข้างหนา / ดอก: ดอกแยกเพศ อยู่ต่างต้น ดอกเพศผู้ออกรวมกันเป็นช่อสั้นๆ ตามง่ามใบ กลีบเลี้ยง และกลีบดอกมีอย่างละ 4-5 กลีบ กลีบเลี้ยงโคนติดกันเป็นรูปถ้วยปากกว้าง กลีบดอกโคนติดกันเป็นหลอด เกสรเพศผู้ 12-18 อัน รังไข่ไม่สมบูรณ์มีขนประปราย ดอกเพศเมียออกเป็นดอกเดี่ยวๆ ลักษณะคล้ายกับดอกเพศผู้แต่ขนาดใหญ่กว่า ทั้งกลีบเลี้ยง และกลีบดอกมีอย่างละ 4-5 กลีบ เกสรเพศผู้ไม่สมบูรณ์ 4-8 อัน / ผล: ผลกลม ฐานมน ปลายมน ผลอ่อนมีขนมาก แก่จัดขนจะน้อยลง เปลือกแห้งแข็งเหมือนไม้ ผลติดอยู่บนกลีบเลี้ยง รูปถ้วย เมื่อยังอ่อนกลีบเลี้ยงมีขนทั้งด้านนอกและด้านใน ขนด้านในจะติดอยู่จนกระทั่งผลแก่ ปลายกลีบเลี้ยงโค้งออก / เปลือก: เปลือกสีดำค่อนข้างเรียบ || นิเวศวิทยาและการกระจายพันธ์ : พบในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงใต้ และมีมากทางภาคใต้ ขึ้นตามป่าดิบหรือป่าดิบชื้น ที่สูงจากระดับน้ำทะเล 30-600 เมตร || การใช้ประโยชน์ : เครื่องจักสานและเครื่องใช้สอย (อ้างอิง ; https://biodiversity.forest.go.th/)


ชื่อวิทยาศาสตร์ = Diospyros sp.