นกนอน

ต้นขี้อ้าย : จัดเป็นพรรณไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ลำต้นมีความสูงได้ประมาณ 5-25 เมตร ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง ส่วนโคนต้นที่มีพูพอนขนาดเล็ก มักมีกิ่งย่อยรอบ ๆ ลำต้นทางด้านล่าง และจะร่วงโรยไปเมื่อแก่ เมื่อสับจะมียางสีแดงส้มชัดเจน เปลือกต้นเรียบเป็นสีน้ำตาลหรือสีเทา และมีรอยแตกตามยาวแบบตื้น ๆ เปลือกด้านในเป็นสีน้ำตาลแดง กิ่งอ่อนมีขนสั้นนุ่ม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตร้อน กระจายพันธุ์ในอินเดีย พม่า จีนตอนใต้ ภูมิภาคอินโดจีน และในคาบสมุทรมลายู ส่วนในประเทศไทยพบได้ทุกภาค โดยมักขึ้นกระจายพันธุ์ทั่วไปในป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าคืนสภาพ ป่าดงดิบแล้งบนเขาหินทรายและหินปูน จนถึงระดับความสูงประมาณ 1,000 เมตร ชอบแสงแดดจัด / ใบขี้อ้าย : ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกันหรือออกเกือบตรงกันข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปไข่หรือรูปมนแกมรูปไข่ ปลายใบแหลมถึงเรียวแหลม โคนใบมนหรือสอบเข้าหากันเป็นรูปลิ่ม ส่วนขอบใบเรียบ มีต่อมหนึ่งคู่ที่บริเวณขอบใบใกล้ ๆ กับโคนใบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-6 เซนติเมตร และยาวประมาณ 6-10 เซนติเมตร เนื้อใบบางคล้ายกระดาษ ใบอ่อนปกคลุมไปด้วยขนสีน้ำตาลหนาอ่อนหนาแน่น และจะร่วงไปเมื่อใบมีอายุมากขึ้น เส้นแขนงใบมีข้างละ 8-10 เส้น ใบแก่ก่อนร่วงเป็นสีเหลือง ก้านใบมีขนาดเล็กเรียวและยาวได้ประมาณ 0.5-3 เซนติเมตร / ดอกขี้อ้าย : ออกดอกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนง ออก 3-6 ช่อ ตามซอกใบหรือที่ปลายกิ่ง ช่อดอกย่อยแบบช่อเชิงลด ขนาดยาวประมาณ 3-6 เซนติเมตร แกนกลางช่อมีขนสั้นนุ่ม ช่อดอกย่อยช่อเชิงลดยาวประมาณ 2.5-5 เซนติเมตร แต่ละช่อมีดอกประมาณ 4-5 ดอก ดอกเป็นสีเหลืองอ่อนและมีกลิ่นหอม มีใบประดับเป็นรูปเส้นด้าย ยาวได้ประมาณ 1-1.5 มิลลิเมตร กลีบเลี้ยงที่โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ยาวประมาณ 0.8-1 มิลลิเมตร ปลายแยกออกเป็น 5 แฉกรูปสามเหลี่ยม ยาวประมาณ 1-2 มิลลิเมตร ส่วนกลีบดอกไม่มี ด้านในมีขน ดอกมีเกสรเพศผู้ 10 อัน มีขนาดยาวเท่า ๆ กลีบเลี้ยง อับเรณูติดไหวได้ จานฐานดอกขอบหยักมน มีขนยาวหนาแน่น รังไข่อยู่ใต้วงกลีบ ยาวประมาณ 0.8-1 มิลลิเมตร เกลี้ยง มีช่อง 1 ช่อง แต่ละช่องมีออวุล 2-3 เมล็ด ก้านเกสรเพศเมียยาวประมาณ 2.5-3 มิลลิเมตร โดยจะออกดอกในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนสิงหาคม / ผลขี้อ้าย : ผลเป็นแบบผลผนังชั้นในแข็ง ลักษณะของผลเป็นรูปกระสวย ขอบขนาน หรือเบี้ยว ผลมีปีก 3 ปีก ปีกบาง แต่ละปีกทำมุมเกือบเท่ากัน สีน้ำตาลอ่อน เปลือกผลเหนียว ผิวเกลี้ยง ผลอ่อนเป็นสีเขียวอมเหลือง ส่วนผลแก่เป็นสีน้ำตาล ผลเมื่อแก่จะไม่แตกออก ขนาดของผลรวมทั้งปีกจะมีขนาดกว้างประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 1.5-2.5 เซนติเมตร ภายในผลมีเมล็ด 1 เมล็ด เมล็ดเป็นสีขาว มีลักษณะเป็นรูปรี โดยจะออกผลในช่วงเดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคม[ || สรรพคุณของขี้อ้าย : 1. เปลือกมีรสฝาด ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ (เปลือก)[1] 2. เปลือกใช้กินกับหมาก แก้ปากเปื่อย (เปลือก)[5] 3. เปลือกใช้เป็นยากล่อมเสมหะและอาจม (เปลือก)[6],[8] 4. ผลมีรสฝาด ใช้เป็นยาแก้เสมหะเป็นพิษ (ผล)[8] 5. เปลือกใช้เป็นยาแก้ท้องร่วง รักษาโรคบิด แก้บิดปวดเบ่ง (เปลือก, ผล)[1],[8] หากมีอาการท้องร่วงอย่างแรง เป็นบิด ปวดเบ่ง ท้องเดิน ให้นำผลมารับประทานก็จะหาย (ผล)[6] 6. ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ (เปลือก)[1] 7. ใช้เป็นยาคุมธาตุและให้อุจจาระเป็นก้อน แก้อุจจาระเป็นฟอง (เปลือก)[6],[8] 8. ผลใช้เป็นยาแก้อุจจาระเป็นมูกเลือด (ผล)[8] 9. เปลือกใช้ภายนอกเอาน้ำต้มเปลือกใช้ชะล้างบาดแผลเรื้อรังและช่วยห้ามเลือด (เปลือก)


ชื่อวิทยาศาสตร์ = Cleistanthus sp.

ชื่อท้องถิ่น = ขี้อาย